Month: August 2019
ชุมชนเกาะนางคำ
กิจกรรมกับเด็ก, สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ร่วมกับคนในชุมชน
รหัสโครงการ: DaLaa 1702 MTV
รูปแบบค่าย: ค่ายระยะกลาง (2-6เดือน)
จำนวนอาสาสมัครไทยที่เปิดรับ ; เปิดรับทั้งปี (ยกเว้นเดือนมีนาคม-เมษายน)
ประวัติโครงการ
โครงการค่ายอาสาสมัครระยะกลาง โรงเรียนบ้านเกาะนางคำ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน คนในพื้นที่ และอาสาสมัครนานาชาติ ได้ร่วมเรียนรู้ทักษะการสื่อสารทางด้านภาษา (นานาชาติ) รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น การประกอบอาชีพของคนในชุมชน แก่อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ ด้วยการตระหนักถึงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน ในชุมชน สามารถเรียนรู้ ทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ ผ่านการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครนานาชาติ อาสาสมัครไทย และชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกันเปิดโลกทัศน์ แห่งการเรียนรู้ เพราะเราเชื่อว่า การศึกษาคือหน้าต่างของการเปิดโลกกว้าง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การหันกลับมาศึกษาภูมิปัญญาที่มีอยู่คู่ชุมชน การสร้างแรงบันดาลใจและการใฝ่รู้ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ได้พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกัน ท่ามกลางความหลากหลายและความเข้าใจกันได้อย่างลงตัว โดยการสร้างกระบวนการกิจกรรมกับเด็กมาเป็นตัวนำ ที่ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน
บริบทชุมชน
ชุมชนบ้านเกาะนางคำ เป็นชุมชนมุสลิม ในตำบลเกาะนางคำ ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยมีสะพานเกาะหมาก-เกาะนางคำ เป็นตัวเชื่อมระหว่างชุมชนกับเกาะหมากไปจนถึงตัวเมืองปากพะยูน เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีลักษณะเป็นเกาะ มีทะเลสาบล้อมรอบ ชาวบ้านจึงประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นหลัก โดยอาศัยความสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่ง เป็นปัจจัยสำคัญ และบางส่วนประกอบอาชีพทำสวนยาง ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ ฟาร์ม(บ่อ)กุ้ง กระชังปลา ซึ่งเป็นอาชีพที่อยู่คู่ชาวบ้านเกาะนางคำมาอย่างช้านาน นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีอาชีพเสริม ในเวลาว่างเช่นการทำขนมพื้นบ้าน การทำลูกหยีกวน เป็นต้น
โรงเรียนบ้านเกาะนางคำ เป็นโรงเรียนประถมขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ 2471 ในระดับชั้น อนุบาล- มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียน 189 คน ข้าราชการครู 14 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน มีมัสยิดบ้านเกาะนางคำเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของพี่น้องมุสลิม และมีภูมิปัญญาด้านการทำประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นระบบนิเวศ 3 น้ำ (น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม) และระบบนิเวศรอบลุ่มทะเลสาบ ที่เป็นต้นทุนทางทรัพยากรในชุมชนได้ใช้ประโยชน์และคงคุณค่าแก่การเรียนรู้และการอนุรักษ์ไว้สืบไป นายสมจิต ชอบงาม ครูโรงเรียนบ้านเกาะนางคำเหนือ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ และนางสาวอารีย์ หลีโส๊ะ ครูโรงเรียนบ้านเกาะนางคำ (เบอร์โทรศัพท์ 082-8242125 อีเมล aree_881@yahoo.com) ได้ร่วมติดต่อประสานกับสมาคมฯ เพื่อร่วมดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา โดยให้เด็กได้ใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำกิจกรรมที่มีความหลากหลาย โดยการดึงอาสาสมัครนานาชาติไปดำเนินการในการนำกระบวนการกิจกรรม ทำให้เด็กได้ฝึกกระบวนการฟัง คิด พูด อ่าน เขียน และสามารถแลกเปลี่ยนภาษา และวัฒนธรรมกับอาสาสมัครนานาชาติได้ จึงได้ริเริ่มโครงการค่ายอาสาสมัครระยะสั้นขึ้นในปี 2558 ในช่วงแรกเริ่มของการดำเนินโครงการเพื่อรับอาสาสมัครนานาชาติที่เป็นเจ้าของภาษา ได้เข้ามาช่วยเสริมกระบวนการด้านการสอนให้มีความชัดเจนขึ้น และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ระหว่างเด็กในชุมชน และอาสาสมัครนานาชาติ รวมทั้งอาสาสมัครไทย ได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ในชุมชนบ้านเกาะนางคำเหนือ และในปี 2561 ช่วงเดือนกันยายน ทาง รร บ้านเกาะนางคำ ได้มีโอกาสเปิดรับอาสาสมัคระยะยาวเป็นครั้งแรก ระยะเวลา 1 เทอม ซึ่งเด็ก ๆ และชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
วัตถุประสงค์โครงการ
– เพื่อสนับสนุนกิจกรรมในโรงเรียน/ชุมชน
– เพื่อจุดประกายความคิดและองค์ความรู้การด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่น
– เพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
– เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาสาสมัคร เด็กในชุมชน คนในชุมชน / แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม
– เพื่อเปิดพื้นที่แก่เด็กเยาวชนในชุมชนมีความกล้าแสดงออก มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาษา
อาหาร
อาหารจะเน้นอาหารท้องถิ่น เนื้อสัตว์ ผัก ปลา ที่หาซื้อได้ง่ายในหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีการประกอบอาชีพประมง อาหารของคนในชุมชน จึงเป็นอาหารประเภทปลาเป็นส่วนใหญ่ และเป็นอาหารฮาลาล (อาหารที่ปรุงตามหลักการของอิสลาม) อาสาสมัครสามารถช่วยประกอบอาหารร่วมกับผู้ดูแลโครงการ ในระหว่างค่ายจะจัดให้ มี international food day อาสาแต่ละชาติจะทำอาหารของบ้านตัวเอง
ที่พัก ห้องน้ำ
อาสาสมัครจะพักที่บ้านของอาสาในชุมชน ไม่ห่างไกลจากโรงเรียนมากนัก สามารถเดินไปโรงเรียนได้ ตั้งอยู่ในชุมชน มีห้องน้ำ ห้องครัวในตัว และชุมชนบ้านเกาะนางคำ เป็นชุมชนมุสลิม การปรุงอาหารจึงต้องเป็นอาหารฮาลาล ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การแต่งการมิดชิด ผู้ชายใส่กางเลยเข่า ผู้หญิงแต่งตัวสุภาพ เรียบร้อย
ข้อควรทราบ
ในชุมชนมีร้านขายของชำ ที่อาสาสมัครสามารถหาซื้อของที่จำเป็นได้ สำหรับการซื้อของอื่นๆที่ไม่มีขายในชุมชน อาสาสมัครสามารถเข้าไปซื้อของ ติดต่อธนาคาร ใช้อินเตอร์เน็ต หรือติดต่อโรงพยาบาล ในตัวเมืองปากพะยูนได้ ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนบ้านเกาะนางคำประมาณ 10 กิโลเมตร อาสาสมัครสามารถติดต่อประสานงานผู้ดูแลโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกได้
คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม
– ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
– มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
– รักเด็ก สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น
– ไม่ยึดติดกับวัตถุและค่านิยมเมือง สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นได้
– เคารพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น พร้อมเปิดใจรับและเข้าใจความเป็นชุมชน
การติดต่อสื่อสาร สามารถใช้โทรศัพท์ ได้ทุกระบบตามปกติ ไม่มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ได้ผ่านเครือข่ายมือถือ แต้ต้องไม่ใช้เกินความจำเป็น
DaLaa is a strong and beautiful flower from Southern Thailand which can pop up and blossom everywhere around. It is usually pink but can be white or red variety as well. Moreover, it can be eaten in “kao yam” salad and cooked with other dishes too. It has a strong taste. Would you like to try it?
DaLaa organization was founded in 2004. Our birthday is October 20th, at the date we gathered for our first workcamp/seminar. Most of us having had good experience in international volunteering, and believing in its value for our society, we followed our dream to create our own volunteer organization, starting from nothing but friendship.
We wanted to support initiatives, especially for the people (and children) living in the countryside of Thailand, for example the villages some of us come from. We wished that volunteers from Thailand and from all over the world to work together with the local people. In this way we hope to create more friendships and understanding between each other. Also by doing voluntary work, people get a good experience in working out of their heart, sharing and learning other ways of doing things, speaking English, learning Thai and having fun together.
We organized few workcamps (2 weeks each) in 2005, mainly in partnership with local schools, always happy to welcome foreign volunteers.
In 2006 and 2007, workcamps were becoming more regular, we organized other kinds of projects like agriculture, environment, renovating schools and we could pay a small salary for one of us.
Then in 2008, we took a bigger step. We started to experience with Middle and Long Term Volunteers and we were getting quite a lot volunteers in our workcamps. With the money saved, we could start to grow up with 4 paid staff, working in a real office and had a full time workcamp leader. It is this year that we got officially registered as an association.
Since beginning of 2011, we are focusing on a few MLTV placements; the workcamps are often held in MLTV sites to support their activities or to get into contacts with new communities.
DaLaa relies on the local knowledge and wisdom. We are well aware of the local needs and challenges.
Little by little, we could create a strong network thanks to powerful hosts and communities.
In 2016, we moved our office from Hatyai city to the countryside, and nowadays we are trying to build our own community on the side of our office work, we call it VSC, Voluntary Servcie Center/Community. It’s the open gate for new interested people to become volunteer.
Let’s break the barriers and fears in ourselves, let’s support authenticity, let the human be, let the nature be, let’s become responsible and autonomous, the path toward freedom, let’s join and support these network of active communities working for social growth and environment preservation. Let’s be part of it. Let’s include the good will people we meet on the road.
Let’s join hands to create the world in peace we all deserve.
I am Ayano Minoura, 21 years old, from Japan. I volunteererd for 3 months in Koh Sukorn.
The main activity there was agriculture, especially we did gardening (organic vegetables), harvesting rice, fishing. Besides that we also visited the kindergarten and organised activities for the children. But for me I can say that the biggest task was to learn Thai language actually.
Through my volunteering, I saw a totally different lifestyle from the Japansese one, and it was a really good opportunity for me to rethink about how to live, about my future life. And the biggest thing that I realized was actually that I am a person who prefers to live surrounded by nature, than to live in the city! And now I know how to live more happily!
One of the biggest challenges for me was to learn the Thai language. Since there was no English speaker on that island, I had no choice but to speak Thai! I managed this difficulty thanks to other volunteers’ help. I don’t have a tough mind enough to overcome this by myself.
My best memories – working, learning, living and eating together with the local people, and with other international volunteers. It was so simple life there but at the same time, it was the most happiest time in my life. I surely would recommend anyone to be a volunteer.