DaLaa  Workcamp – code: 6208-1

Activities with kids at primary and high schools

SHORT DESCRIPTION

Koh Yao is a Muslim island in the Andaman sea of South Thailand. Since it started to become a tourist attraction, there have been some big changes in the local communities’ lifestyle. The villagers started to move from fishing and agriculture to tourism industry-related work. People realized slowly the dangers of losing their friendly sufficient communities and environment issues are rising quickly. During these 2 weeks, volunteers will join the network of schools to help to organize activities with kids and take part in the realities of the local population. This way we hope to get more mutual understanding between the local population and the international communities and make a small step in a better direction for all of us.

HISTORY and REASONS OF THE PROJECT

Koh Yao is composed of 2 islands: Koh Yao Yai and the smallest Kho Yao Noi and covers about 140 Sq.Km. The islands are situated in Phang Nga province, but it’s easier to reach the place from Krabi in the East or Phuket in the West. There are other smaller islands around in the same area. 99.9% of the population is Muslim. The ancestors of Koh Yao community migrated from Trang province to Koh Yao Yai since the 18th century to escape the Thai-Burmese war.

Like most of the islands in South Thailand, the place became more and more popular for tourism in the last 20 years. Some investors, from Phuket and other places came to build resorts. Impacts on the local communities and the environment were not much taken in consideration. Nowadays they start to realize the loss for the social and natural environment. English language is an important tool for the local people. It is necessary to work in the tourism sector, but most of all it is needed to communicate, to understand the foreigners coming on their land, to get a chance to defend their values and lifestyle as well.

In 2015, Mr. Wira Suebpong, the Director of Baan KlongHia School and Mr. Anucha Ban-amad, the Director of Baan PruNai School, have set up a network of the 13 schools on Koh Yao to seek an alternative way to develop education which will support students to learn happily and effectively, as well as maintain the voluntary mind for their own community. The two directors met Mr. Boonchan Saengfai who invited DaLaa association and discussed the possibility to organize an International short-term work camp in August 2016 with few of these schools. The results were positive, we renewed the experience with them since then until the present year.

AIMS of the PROJECT

  1. To support alternative education for students.
  2.  To bring awareness on voluntary mind and public participation among the community members.
  3. To develop cultural exchange among the community members.

WORK AND ACTIVITIES

  • Organizing creative English teaching activities with kids with two different schools of Koh Yao Education Development Network on Koh Yao Yai.
  • Learning village lifestyle and increasing participation of the villagers
  • Voluntary service activities with the community

REQUIREMENTS

Volunteers should be ready to stay in a local area, to adapt to the local conditions with only basic facilities. Very few local people are able to speak in English. Volunteers should be able to be with the kids and prepare some games and material for teaching.

FOOD and ACCOMMODATION

Volunteers will sleep in school classroom or at villagers’ house (depending on number of volunteers). You will need to bring your own sleeping bag, foldable mat and mosquito net with you. There are basic toilets, showers and a kitchen at the school canteen. The teachers and villagers will help the volunteers to cook.  Local people eat rice (or noodles) 3 times a day with side dishes like curries, omelets, local leaves and vegetables. Volunteers will be welcome to cook their own food using the ingredients available there. (No oven, only a gas and woks or pans).

The villagers are Muslim so there must be no pork nor alcohol products.

DaLaa  Workcamp – code: 6211

COMMUNITY OF MANGROVE FOREST
(construction, creative English teaching activities with children and local wisdom learning)

SHORT DESCRIPTION

Sustainability is challenging to Baan Ta Yang community (Andaman cost-South Thailand), similarly to the other coastal villages in this area. It is important to preserve the mangroves, which is natural habitat to flora and fauna, filters water and protect the land from erosion. The local people are concerned and take care of the natural environment while keeping traditions and the wisdom of the elderly. The members of Mangrove Forest Conservation and Community based Tourism have a construction’s project in building a local pier for the local uses. Meanwhile, they also would like to continue the concept of non-formal learning space in the village for children to learn English through creative activities by international environment. 

HISTORY OF THE PROJECT

Baan Ta Yang is a Muslim community, not far from the Andaman Sea, located in Pak Nam sub-district, La-ngu District, Satun Province. Baan Ta Yang is an island community close to the seawater canals surrounded by mangrove forests. Most villagers rely on seasonal work in fishing and agricultures especially (nipa palm/mangrove palm) for daily living and main source of income.

In February 2014, Dalaa organized the first short-term workcamp at Baan Ta Yang. The workcamp aims were to create a learning center in the village by organized English language teaching activities plus local wisdom and culture learning. After the good feedback from the community they started accepting middle and long term volunteers from April 2014 onward .We could create and maintain this learning center during 3 years especially for children but also for adults. Volunteers were also teaching English at the local schools and sharing the local life.

In 2015-2016 there was a research about this learning center that helped support the involvement of the people in community to design their own learning management. They are now able to value more their local wisdom such as weaving skills, mangrove forest conservation and community history. Some members of the local group of conservation of natural resources started new Community based Tourism activities with the aim to create job opportunities and brings the visitors caring for nature and villagers wisdom.

They also created a “Volunteer Band” with teachers of Rebana (Malay tambourines) from Bulon Island, members of Kuala Bara Band and local people. They spread fun and happiness by preserve the local folk music ( ‘Rongeng’) and  nature caring lyrics.

In 2017, we had to take a break to send DaLaa volunteers because of the main host personal reasons. However, the motivation of the local people to welcome international volunteers in the community is still alive and they come up this year with a new hosting place and people to take care. They would like to bring the international volunteers activities back to Baan Ta Yang. With this workcamp, we want to support their motivation for autonomy, environment and local culture preservation, as well as culture exchange. We want to study the possibility to start middle and long- term activities there for the future.

AIMS of the PROJECT

  1. To support the local group: Mangrove Forest Conservation and Community based Tourism
  2. To support of the English learning activities (non-formal) and children activities in the community
  3. To exchange and learn local wisdom and culture with the local community

ACTIVITIES

  1. Construction of the local pier (concrete and wood) near the center of the Mangrove Forest Conservation and Community based Tourism. Volunteers will support the local team work on the construction (foundation, floor, pillars and roof) (50% of working time) . This pier will be used by local people.
  2. Organizing creative English teaching activities in the village to the children by games, sports, art, dance, music… (30% of working time)- The place is at Bang Sit’s house (in the village) There are about 20-30 children from elementary school ages.  The activities will take the whole day (2-3 days) divided into two sessions from 09:00 -11:30 and 14:00-17:00.  It is also possible to have the creative activities in school (when request by teachers).
  3. Local wisdom learning (20% working time)- possibility to join and learn Thai cooking, discussions on the tourism-based community, mangrove discovery and preservation, making basket, volunteer music band, collecting shells, fishing…

REQUIREMENTS OF VOLUNTEER

  1. Flexibility and readiness in learning new things.
  2. Respect the differences of the cultural diversity.
  3. Able to work with others people.
  4. Ready to work with community. 

The volunteers should be ready to stay in a remote area (near the mangrove forest), to adapt to the local conditions with only basic facilities.Very few local people are able to speak in English. Volunteers should be able to handle spontaneous working environment and constant changes in the plans. The mentality and way of thinking is very different from the western world. There will have activities with the children. To have responsibility for you, the kids and full involvement in community matters is a must. For the 2 weeks, you will be leaded by a Dalaa member/staff that will help to coordinate the project.

*For ones who plan to travel in Thailand/Asia besides this voluntary work, having it done before or after the project would be advisable. We hope that volunteers will fully spend their stay in the project without asking for a long holiday break amid the workcamp period. This would cause uncertainty in running activities.

FOOD and ACCOMODATION

Volunteer will sleep in the host family in the village (the houses are near to each other). The host family houses are in basic condition. You will need to bring your sleeping bag, pillow and a small mattress. The toilets and bathroom are in Thai style with very basic condition.  The volunteers only sleep in different places but will come to the same meeting place for cooking and others activities. Do not worry about the distances; the places are just near to each other (walking distance). The volunteers will take turn in a small group to cook in the shared kitchen. Besides, the volunteers will also have chance to get invited to eat at the villagers houses or sometimes the villagers brings foods (potluck system) to eat with the volunteers. Volunteers are welcome to cook their own food using the ingredients available there. (No oven, only a gas and woks or pans). If you plan to cook something typical from your home country, instant ingredients (Halal) are recommended to bring from home.

**Villagers of Baan Ta Yang are Muslim so there is no pork or alcohol in the village.

OTHER PRACTICAL INFORMATION

  • Laundry: expect to hand-wash your clothes
  • Water supply and electricity: available
  • Internet/phone access:  there is connection for DTAC and True move phone companies’ network. You can use internet with Thai Sim card and your mobile phone. But it is important to be ready to leave with little or no internet during your stay there.
  • La-ngu, is a town at 10km, where there is an hospital, clinics and pharmacies.
  • Hat Yai, the main city of South Thailand (close to DaLaa office) is 2 hours by bus/mini bus from La-ngu.
  • Clothes worn in the village: You will be living in an area with elderly people and children around so it is appropriate that you dress modestly, for example no short skirts or shorts too far above the knees. Also women should wear tops that cover your shoulders. Bikini is not appropriate to swim. Please wear a short and a top instead. You will learn more about Thai culture at the introduction day so please don’t worry too much. You will quickly learn when it best to dress more informally and when it is important to cover up
  • Language: only very few people in the village can speak English. We will teach you some basic Thai language during the start of the workcamp and of course you will have the whole 2 weeks to practice your Thai among the volunteers and local people in the community.  Non-verbal communication is always helpful.
  • You are given 1 or 2 free day(s) during the 2 weeks and plenty of free time in the evening that can be spent on daily meeting or building group dynamic by playing various games, having discussion and recreation activities. Personal expenditure on camp holiday is covered by volunteers themselves.

เมืองอิฟูเกา ระหว่างวันที่ 7-18 กรกฎาคม 2557

เลือกร่วมกิจกรรมค่ายอาสาที่ฟิลิปปินส์ เพราะเห็นภาพ นาขั้นบันไดจากกูเกิ้ล คืออลังการมาก อยากมี  พื้นที่เขียว ๆ เพดานสีฟ้า ๆ เป็นห้องทำงานดูบ้าง เหตุผลที่เลือกมีแค่นี้จริง ๆ ค่ะ ไม่ได้เลือกอะไรมาก  เลย  แต่รู้สึกไม่ค่อยดีเลยกับวันที่เหยียบมะนิลาครั้งแรก คือโดนต้มตุ๋นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น  แท็กซี่ ร้านอาหาร หรือบริการ คือรู้สึกแย่ขึ้นมาเลยที่เลือกที่จะมาฟิลิปปินส์ แต่แอบหวังว่า ต่างจังหวัด  จะเป็นที่ที่อบอุ่นและเป็นมิตรกว่านี้

ซึ่งอิฟูเกา ไม่ทำให้ผิดหวัง ทั้งคนและธรรมชาติ

วินาทีแรกที่เห็นนาขั้นบันได คือ ไม่ผิดหวังที่นั่งรถมาจากมะนิลา 9 ชั่วโมง คือ สวยมาก ความรู้สึกกับ  กิจกรรมคือทุกอย่างเป็นไปตามแพลนที่แจ้งให้อาสาสมัครทราบ ยืดหยุ่นบ้างตามสถานการณ์ ถือว่าไม่  แน่นมาก และไม่น่าเบื่อมี โอกาสได้ทำเกือบทุกอย่าง ได้ไปหลาย ๆ ที่ ไม่ใช่อยู่แค่ทำนาอย่างเดียว ได้  เห็นชีวิตความเป็นอยู่จริง ๆ ของคนพื้นที่ ได้รู้ปัญหาของการทำนาขั้นบันได และปัญหาเรื่องการขาดผู้  สืบทอดภูมิปัญญา

ความรู้สึกเกี่ยวกับเพื่อน ๆ อาสาสมัคร ส่วนใหญ่มาเพราะสมัครใจ เลยช่วยกันทำงาน และพร้อมที่จะเรียนรู้จากชาวบ้าน เลยไม่ค่อยมีปัญหาอะไร ส่วนการใช้ชีวิตร่วมกันอาสาสมัครส่วนใหญ่ถึงจะต่างวัฒนธรรมกันมาก ๆ แต่ทว่าแต่ละคนมีมารยาทสากล และมีความยืดหยุ่นสูง เลยไม่มีปัญหาระหว่างเพื่อนร่วมค่าย

ประทับใจทุกอย่างในค่ายยกเว้นอาหารและห้องน้ำ

เนื่องจากมีอาสาสมัครบางคนที่เคยชินกับการใช้ทิชชูในห้องน้ำแล้วทิ้งในชักโครก ซึ่งห้องน้ำค่ายเป็นโถชักโครกที่ต้องราดน้ำ วันท้าย ๆ เราจึงไม่มีห้องน้ำไว้ให้ปลดทุกข์กัน หนักหน่อยคือท่อตันเพราะดิน โคลน ลงไปสะสม น้ำขังอยู่ประมาณตาตุ่ม คือตอนนั้นเครียดเหมือนกัน ปวดปัสสาวะก็ต้องรอปลอดคน ลงไปปลดทุกข์ตามพุ่มไม้ตอนค่ำ ๆ ถ้าถ่ายหนักยิ่งแล้วใหญ่ เก็บไว้เข้าตามร้านข้าว  แล้วห้องน้ำที่นี่มีลักษณะพิเศษ เหมือน ๆ กันในแทบทุกบ้านที่ได้ลองเข้าคือ ในห้องน้ำจะมีแต่โถสุขภัณฑ์ ถังน้ำที่ใช้ราดจะอยู่นอกตัวห้อง เวลาเข้าห้องน้ำเราต้องตักน้ำจากข้างนอก ใส่กระป๋องน้ำหิ้วเข้ามาเตรียมไว้ก่อนทำธุระ  ส่วนห้องอาบน้ำที่แคมป์ ไม่มีประตูปิดค่ะ เวลาอาบน้ำคือ เอาผ้าขนหนูขึงกั้นแทนประตูไว้เฉย ๆ ก็มีบ้างที่ห้องข้าง ๆ หยิบของแล้วผ้าขนหนูร่วงก็เป็นที่ขำขันหยอกล้อกันไป สำหรับชาวยุโรปก็ไม่ค่อยเป็นปัญหาอะไร แต่สาว ๆเอเชียนี่จะตื่นเต้นกันมากกับห้องน้ำไร้ประตูอันนี้ เชื่อว่าครั้งต่อไปคงมีการปรับปรุงค่ะ พวกเราตอนนั้น รู้สึกไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ แต่พอมานึกย้อนไป มันเป็นความทรงจำนึงที่ต้องพูดถึงแน่ ๆ ถ้าเล่าถึงการมาค่ายอาสาครั้งนี้

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากค่ายอาสาครั้งนี้คือ คนที่นี่เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติได้ดีจริง ๆ ค่ะ เค้าอยู่ได้โดยไม่ใช้โฟม รณรงค์อย่างเคร่งครัดว่าจะต้องให้ลูกหลานแยกขยะ คือในความคิดเราคือเค้ามีความคิดแบบ คนละครึ่งทางระหว่างคนกับธรรมชาติ อิฟูเกามีเทคโนโลยีพอ ๆ กับบ้านเรา แต่บางอย่างคนก็รับ บางอย่างเค้าก็แค่รู้ว่ามีเฉย ๆ แต่ก็ไม่ได้เห็นความสำคัญที่จะขาดไม่ได้

อีกอย่างคือการเรียนรู้ระหว่างการใช้ชีวิตร่วมกับอาสาสมัครต่างชาติ ทำให้เรียนรู้เรื่องการปรับตัว การยืดหยุ่นยอมรับสิ่งที่แตกต่าง ไม่ยึดมั่นกับความเป็นตัวเองมากเกินไป แต่ก็ไม่ได้สูญเสียความเป็นตัวเองโดยสิ้นเชิง หลายครั้งที่คนเราทะเลาะกันเพราะความต่าง ไม่ว่าจะด้วยความคิด การกระทำ หรืออะไรก็แล้วแต่ ความแตกต่างไม่ใช่ปัญหา แต่การคิดว่าคนอื่นทำอะไรในแบบที่เราไม่ทำคือความผิด นั่นคือปัญหา  การเข้าค่ายอาสาต่างชาติทำให้เราเรียนรู้คนอื่น ไปพร้อม ๆ กับเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ให้ตัวเองด้วย ส่วนตัวคิดว่าตรงนี้จะช่วยให้เรามีทัศนคติในการดำเนินชีวิตมากขึ้นค่ะ

เมือง Gokseong ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2557

สวัสดีค่ะ ชื่อนินะคะ อายุ 25 ปีค่ะ  โดยปกติแล้วเป็นคนชอบทำกิจกรรม outdoor activities  และชอบท่องเที่ยว  ตามธรรมชาติค่ะ พอหลังจากที่ได้เห็นข่าวจากค่ายดาหลา ว่ามี workcamp ของประเทศเกาหลี ที่เราจะได้มีโอกาส  ไปสอนหนังสือเด็กและทำกิจกรรม outdoor activities ก็เลยสนใจและสมัครไป ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพี่ ๆ ทีม  งานของดาหลาที่ให้คำแนะนำและบอกข่าวดี ๆ ให้ได้รับรู้ และได้มีโอกาสไปเข้าร่วม รวมทั้งคำแนะนำดี ๆ สำหรับ  การเตรียมตัวไปทำค่ายต่างประเทศครั้งแรก

สำหรับค่ายนี้เป็นค่ายต่างประเทศครั้งแรกรู้ สึกประทับใจในตัวเพื่อนร่วมที่เป็นคนสนุกสาน เฮฮา เปิดเผย และจริงใจ  ระหว่างค่ายเราทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างร่วมกัน มีวันเวลาดี ๆ ให้จดจำ เล่นเกมส์ คิดกิจกรรมให้น้องเล่น ร่วมกันแก้  ปัญหาเวลาน้องไม่ค่อยให้ความร่วมมือ รวมทั้งยามที่เพื่อนคนใดในค่ายมีปัญหา  เราไม่เคยทิ้งกันเลย ตัวอย่างเช่น  บ้านพักของเราอยู่ล้อมรอบด้วยภูเขาและทุ่งนา เราใช้จักรยานในการเดินทางไปที่อื่น ๆ และบ่อยครั้งเราก็เกิดปัญหา  จักรยานล้มหรือเวลาไปเล่นน้ำลื่นตกลงไป เพื่อน ๆ ที่ค่ายก็ดูเลเป็นอย่างดี

เรื่องที่ประทับใจที่สุดมีอยู่สามเรื่องคือ ค่ายนี้เป็นค่ายเกี่ยวกับธรรมชาติดังนั้น เราเลยได้ทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่  เกี่ยวกับธรรมชาติมาก ๆ อย่างเช่น วันรักษ์สิ่งแวดล้อมเราต้องไปอาบน้ำ ล้างหน้า กับแปรงกันที่น้ำตกเล็ก ๆ มันให้  ความรู้สึกที่แปลก ๆ แต่รู้สึกสนุกและชอบในเวลาเดียวกัน  คูล!!

สิ่งที่สองคือประทับสถานที่ gokseong สถานที่นี้เป็นเหมือนหมู่บ้านเล็ก ๆ`แต่เป็นธรรมชาติมาก ๆ  ต้นไม้เขียว ชอุ่มอุดมสมบูรณ์ ตอนที่ได้ปั่นจักรยานกลางทุ่งนาและภูเขาเป็นความรู้สึกที่ฟินสุดแล้ว ร่วมทั้งมีเพื่อนและเด็กปั่นด้วยกันยิ่งเพิ่มความรู้สึกดีมากขึ้นไปเอง  การใช้ชีวิตอยู่ ที่นั่นก็สบาย ๆ เรียบง่าย คนที่นั้นก็ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์กินเอง สนุกสนานและเป็นกันเอง

สิ่งที่สามเป็นความประทับใจมาก ๆ ของเพื่อนร่วมค่ายและเด็ก ๆ เพื่อนร่วมค่ายที่นี้น่ารักมาก ๆ ตลก เฮฮา รั่ว สุด ๆ

เรามักจะเล่มเกมส์กันในยามว่างและยามที่ขี้เกียจล้างจานหรือหาผู้แพ้เพื่อรับหน้าที่ไปทำอะไรสักอย่าง ส่วนน้อง ๆ ที่อยู่ที่โรงเรียนน่ารักมากเช่นกัน เป็นเด็กดี มีน้ำใจและจริงใจมาก อย่างเช่นมีอยู่ครั้งหนึ่งน้องกำลังยืนกินแตงโมอยู่ที่ถาดใหญ่  เหลือแตงโมอยู่ในถาดชิ้นเดียว เห็นน้องคีบแตงโมอยู่นึกว่าน้องจะคีบใส่ปากตัวเองแต่เขากลับเอามาให้เราแทน รู้สึกประทับใจในเด็กน้อยมากเลย

สุดท้ายนี้ขอฝากไว้สำหรับใครที่สนใจไปค่ายต่างประเทศนะคะ ว่าอย่ากลัว ต่อให้จะไปคนเดียว เพราะประสบการณ์หรือสิ่งที่คุณจะได้กลับมานั้นมากมาย  มากกว่าการที่คุณไปนั่งเรียนในห้องเรียนหรือจ่ายเงินแพง ๆ ไปพักสถานที่ดี ๆ อะไรเสียอีก คุณจะได้สัมผัสอะไรที่มันเป็นดั้งเดิมหรือวิถีของเขาจริง โดยที่ไม่ต้องไปเดินตามหาตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เขาจำลองสร้างขึ้นมา  คุณจะได้เพื่อนจากหลากหลายประเทศ  คุณจะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนอื่น คนที่มีนิสัยใจคอ วิธีการคิดที่เหมือนกับเราและไม่เหมือนกับเรา    มันเป็นอะไรที่วิเศษมาก ๆ จริง ๆ

เมือง Aso, Kumamoto ระหว่างวันที่ 2-15 สิงหาคม 2557

ค่ายอาสาสมัครที่ประเทศญี่ปุ่นนี้เป็นค่ายอาสาค่ายแรกในชีวิต เหตุผลที่ตัดสินใจไปคืออยากไปเที่ยว  ญี่ปุ่น และอย่างรู้เรื่องราวของความเป็น local ที่ญี่ปุ่น อาจเป็นเพราะอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นมาก จึงอยากเห็น  ของจริง

กลัวมาก เพราะเป็นค่ายอาสาค่ายแรก และเป็นค่ายต่างประเทศ ภาษาอังกฤษของเราถือว่าไม่ดีนัก พอ  พูดได้แต่สําเนียงไทยมาก กลัวคนที่ค่ายจะฟังไม่รู้เรื่อง แล้วก็กลัวฟังใครไม่รู้เรื่อง และญี่ปุ่นเป็น  ประเทศที่ไม่พูดอังกฤษนัก ก็กลัวอีกว่าจะไม่สื่อสารกับคนญี่ปุ่นในค่ายได้ แต่เมื่อได้เจอชาวค่ายจริง ๆ  แล้ว ค่อนข้างต่างจากที่คิด ทุกคนเป็นมิตรมาก พยายามจะสื่อสารกันด้วยวิธีต่าง ๆ แม้ว่าอังกฤษของเรา  (และของคนญี่ปุ่น) จะสําเนียงไม่ดี แต่ก็พยายามฟังกันจนรู้เรื่อง และถือเป็นโชคดีมากที่มีอาสาชาว  ญี่ปุ่นที่มีภาษาอังกฤษดี (พูดเป็นสําเนียงญี่ปุ่น แต่สื่อสารได้ดี) จึงเป็นคนคอยแปลภาษาอังกฤษและ  ญี่ปุ่น ทําให้ชาวค่ายสามารถสื่อสารกับคนท้องที่ได้

กิจกรรมในค่ายสนุกมาก ตามรายละเอียดค่ายคือ ช่วยชาวบ้านจัดเทศกาล ทําการเกษตร และ work with children ส่วนตัวคิดไว้ว่าคงหนักที่งานเกษตร แต่เอาเข้าจริงแล้วหนักที่ work with children ส่วนตัวไม่ใช่คนที่รักเด็กมากนัก แต่เด็กญี่ปุ่นทําให้เราประทับใจหลายอย่าง ทั้งความมีน้ำใจ ความมีวินัย ต้องชื่นชมชาวญี่ปุ่นว่าดูแลอนาคตของเขาได้ดีจริงๆ

การทําอาหารในค่ายสนุกมาก ได้กินอาหารหลายชาติทั้งญี่ปุ่น (ที่อาสาทําอร่อยมาก) อิตาลี (แปลกใหม่) และไต้หวัน บางครั้งอาหารอาจจะออกมาแปลก ๆ เพราะแต่ละคนไม่ได้เข้าครัวบ่อย แต่การได้กินรวมกันก็ทําให้อาหารอร่อยขึ้นมา ไม่มีใครบ่นแม้ว่าอาหารจะแปลกก็ตาม

ได้รับรู้เรื่องราวของประเทศต่าง ๆ เยอะขึ้นมาก ได้เพื่อนใหม่ (ที่บอกว่าถ้ามาไทยแล้วจะติดต่อมา แล้วถ้าไปประเทศเขาให้บอกเขาด้วย) ได้รับรู้ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมมากมาย (ญี่ปุ่นแปรงฟันนอกห้องน้ําจริง ๆ นะ!!!)

สองอาทิตย์ที่ค่ายเหมือนจะยาว แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกันทุกคนกลับรู้สึกว่ามันสั้นเหลือเกิน ถ้ามีโอกาสก็อยากจะเจอคนที่ค่ายอีก