My name is Muay or Gail. I’m 19 years old. I was a volunteer for 10 months in Service Civique program, which is supported by the French government. The organization that I worked with is Solidarite Jeunesses in their delegation called REV in the south of France, about half an hour from Nimes. 

It was my first time going to Europe for a long time. In the beginning, I was worried about a lot of things. For example, new culture, people, language. But finally, I decided to go because I want to grow up and discover a lot of new things and experience.

About the work, there were 3 types of work.

  • Local animation, Local animation is the actions or activities that we did with local people because in the project we try to link, communicate and live with local people. For example, we did English classes for kids and adults in the village. We organized many events like international dinner, the aims of this event are taking with villagers, sharing our culture and to present our project to the villagers. We also join the local activity for example, I join the French local theatre. And we have a second-hand shop, the place where volunteers can meet and talk with villagers.
  • Chantier (the French word for working place), we planted a lot of trees to help farmer solve the problem of flamingo eating the rice. We also checked the hiking spot, if the way is still ok or the sign is not broken. And gardening as well.
  • Training, I joined 3 training. 2 with SJ about diversity, racism and discrimination and 1 with the red cross. All these trainings teach me a lot and change the way I see things and people.  

In the volunteer house, we live with volunteers from many countries. For me, in the beginning, it was very hard to adapt and understand the culture because it was so different from my culture. It took time to learn but from this difficulty, I had learned how to open mind and accept something different.

From these 10 months, I had learned a lot of things and discover a lot of new things, I experience happy moments, I meet nice people, Also I face difficult situations and having difficulty with some people. So I grow up a lot, my world becomes bigger and diverse. This volunteering was a big chance and big change too. It was a hard year, happy year, and changing year to become a better person and growing up.

สวัสดีค่ะ ชื่อหยองนะคะ ตอนนี้อายุ 28 ปีแต่ตอนที่ไปร่วมโครงการอาสาสมัครระยะยาวตอนนู่นก็อายุราวๆ 24 ปีได้ J

หยองเข้าร่วมโครงการกับทางองค์กรที่ชื่อว่า Citrus เป็นองค์กรอาสาสมัครที่อยู่ทางใต้ของฝรั่งเศส สำหรับโครงการที่หยองเข้าร่วมนั้นชื่อว่า Service Civique เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากทางรัฐบาลฝรั่งเศส

นี่เป็นครั้งแรกเลยที่ได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตในต่างประเทศนาน 1 ปี ในช่วงก่อนจะไปก็ทั้งเครียดทั้งกังวลว่าจะอยู่ได้ไหม แต่พอไปถึงแล้วรู้สึกอุ่นใจขึ้นมาหน่อย เพราะว่าได้รับการต้อนรับที่อบอุ่นจากทั้งเจ้าหน้าที่และเพื่อนอาสาสมัครด้วยกันเอง

ในส่วนของการทำงานนั้น หลักๆ เราจะทำงานร่วมกันระหว่างอาสาสมัครกับกลุ่มคนที่มีความท้าทายในการหางาน งานของเราส่วนมาจะทำที่สถานีรถไฟ มีทั้งขัดที่นั่ง ซ่อมกล่องจอดจักรยาน กับทั้งทาสี นอกจากงานนี้แล้วพวกเรายังต้อนรับกลุ่มต่างๆ ที่มาทำงานร่วมกันอีกด้วย งานที่ท้าทายมากๆ คือการทำอาหารสำหรับคนจำนวนมาก เพราะทั้งเครียด ทั้งกดดันที่จะต้องทำอาหารให้ทันเวลา แต่ก็สนุกดีๆ ได้ลองเมนูใหม่ๆ ในทุกๆ วัน ในช่วงก่อนที่เราจะจบโปรเจ็ค เรายังได้ลองมาเป็นผู้นำค่ายอีกด้วย ค่ายนี้เป็นค่ายวัยรุ่น สำหรับค่ายนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ที่จะอดทนและยืดหยุ่นในแต่ละสถานการณ์ ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เรายังได้ร่วมกับชุมนุมที่ชื่อว่า “Bouge Ta Bogue” หรือที่หมายความว่า “ออกมาจากกรอบ” เป็นชุมนุมที่ทำงานร่วมกับกลุ่มวัยรุ่นในหมู่บ้าน งานส่วนใหญ่จะมีทั้งทริปออกนอกสถานที่ และกิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆ

ในส่วนของการใช้ชีวิตนั้น อาสาสมัครทุกคนอยู่รวมกันที่บ้านอาสาสมัคร แบ่งออกเป็น 3 ห้องนอน (ห้องนอนผู้หญิง ห้องนอนผู้ชาย และห้องนอนแขก) บอกตรงๆ ไม่ง่ายเลยที่จะใช้ชีวิตอยู่กับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเป็นเวลา 1 ปี ทุกวันศุกร์จะมี Mentor หรือพี่เลี้ยงเข้ามาจัดประชุมคอยเคลียร์ปัญหา หรือช่วยจัดการวางแผนชีวิตในอาทิตย์ต่อๆ ไปให้ ปัญหาที่เจอประจำเป็นเรื่องเล็กมากๆ แต่เป็นปัญหาที่เอามาขึ้นที่ประชุมทุกครั้ง นั่นคือเรื่องล้างจาน 1 ปีผ่านไม่ง่ายเลย แต่สุดท้ายเรากลับได้เพื่อนดีๆ ที่รู้จักนิสัยใจคอจริงๆ มาตั้งหลายคน ประสบการณ์หลังจาก 1 ปีนั้น ทำให้เราโตขึ้น (แน่นอนไม่ได้สูงขึ้นนะ หมายถึงโตขึ้นทางการเรียนรู้ 55) เราได้เรียนรู้ที่จะเปิดใจรับคนแปลกหน้าเข้ามาในชีวิต รู้จักปรับตัวและประนีประนอมเมื่อมีเหตุการณ์ยากๆ เข้ามา อีกทั้งมีความมั่นใจมากขึ้นและกล้าที่จะตัดสินใจในเวลาที่จำเป็นอีกด้วย การเป็นอาสาสมัครในครั้งนี้ทำให้เราเรียนรู้จากคนรอบข้างและรู้จักตัวเองให้มากขึ้น J

My name is Yong. Now I’m 28 years old but I was 24 years old when I participated in long term volunteer project in France.

I was a volunteer in Service Civique program, which is supported by French government. The organization that I worked with is called Citrus. It is in the south of France, about an hour from Toulouse.  

This was my first time living aboard for a year. It was challenging in the beginning. I carried a lot of fears and worries. But once I arrived in the project, I felt much better with a warm welcoming from the staffs and also other volunteers.

About working, we worked together between volunteers and insertion workers. Most of the time, we cleaned or renovated the train station. Apart from this, we also host the groups. When we hosted the group, we worked together and also cooked together. It doesn’t sound difficult but it does. Cooking for a big group of people was one big challenge of our voluntary service. At the end of my volunteering year, I also took part in the workcamp. I led teenagers’ workcamp with 2 more leaders. Workcamp leading helps me a lot to be more patient and flexible at the same time. I experienced a few hard situations and we had learned from them. Moreover, we worked also with teenagers in the village. There was a club named “Bouge Ta Bogue”. We organized some trips outside and also some cultural activities with teenagers.

About living, we lived together in volunteers’ house. There are 3 bedrooms, one for girls, one for boys and another for guests. It sounds simple but not actually. Washing dishes was always our issue. We had a meeting every Friday with our mentor to organize and discuss our daily lives in the house. Imagine living together all the time for a year, it was not easy but in the end, we end up to be really close friends.

After this one year experience, I found myself growing up a lot, for sure not for my physical aspect haha. I had learned how to open my mind for the strangers, how to adapt and compromise when they were hard situations and also how to be confident and make a decision when it needed. I had learned to believe in myself and my abilities. This volunteering experience gave me a chance to learn that voluntary service supports us to discover about the others and (the big part is) to discover ourselves. J   

ชุมชนเกาะนางคำ

กิจกรรมกับเด็ก, สิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ร่วมกับคนในชุมชน
รหัสโครงการ: DaLaa 1702 MTV
รูปแบบค่าย: ค่ายระยะกลาง (2-6เดือน)
จำนวนอาสาสมัครไทยที่เปิดรับ ; เปิดรับทั้งปี (ยกเว้นเดือนมีนาคม-เมษายน)

ประวัติโครงการ
โครงการค่ายอาสาสมัครระยะกลาง โรงเรียนบ้านเกาะนางคำ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน คนในพื้นที่ และอาสาสมัครนานาชาติ ได้ร่วมเรียนรู้ทักษะการสื่อสารทางด้านภาษา (นานาชาติ) รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น การประกอบอาชีพของคนในชุมชน แก่อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ ด้วยการตระหนักถึงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้แก่เด็ก เยาวชน ในชุมชน สามารถเรียนรู้ ทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ ผ่านการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครนานาชาติ อาสาสมัครไทย และชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกันเปิดโลกทัศน์ แห่งการเรียนรู้ เพราะเราเชื่อว่า การศึกษาคือหน้าต่างของการเปิดโลกกว้าง อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การหันกลับมาศึกษาภูมิปัญญาที่มีอยู่คู่ชุมชน การสร้างแรงบันดาลใจและการใฝ่รู้ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม ได้พัฒนาทักษะการอยู่ร่วมกัน ท่ามกลางความหลากหลายและความเข้าใจกันได้อย่างลงตัว โดยการสร้างกระบวนการกิจกรรมกับเด็กมาเป็นตัวนำ ที่ทำให้ทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน  เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างพื้นที่การเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน


 บริบทชุมชน
ชุมชนบ้านเกาะนางคำ เป็นชุมชนมุสลิม ในตำบลเกาะนางคำ ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ในอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยมีสะพานเกาะหมาก-เกาะนางคำ เป็นตัวเชื่อมระหว่างชุมชนกับเกาะหมากไปจนถึงตัวเมืองปากพะยูน เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีลักษณะเป็นเกาะ มีทะเลสาบล้อมรอบ ชาวบ้านจึงประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นหลัก โดยอาศัยความสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่ง เป็นปัจจัยสำคัญ และบางส่วนประกอบอาชีพทำสวนยาง ปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ ฟาร์ม(บ่อ)กุ้ง กระชังปลา ซึ่งเป็นอาชีพที่อยู่คู่ชาวบ้านเกาะนางคำมาอย่างช้านาน นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีอาชีพเสริม ในเวลาว่างเช่นการทำขนมพื้นบ้าน การทำลูกหยีกวน เป็นต้น
โรงเรียนบ้านเกาะนางคำ  เป็นโรงเรียนประถมขยายโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล ตั้งอยู่ในหมู่บ้าน เปิดสอนตั้งแต่ปี พ.ศ 2471 ในระดับชั้น อนุบาล- มัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียน 189 คน ข้าราชการครู 14 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน มีมัสยิดบ้านเกาะนางคำเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของพี่น้องมุสลิม และมีภูมิปัญญาด้านการทำประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ซึ่งเป็นระบบนิเวศ 3 น้ำ (น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม) และระบบนิเวศรอบลุ่มทะเลสาบ ที่เป็นต้นทุนทางทรัพยากรในชุมชนได้ใช้ประโยชน์และคงคุณค่าแก่การเรียนรู้และการอนุรักษ์ไว้สืบไป นายสมจิต ชอบงาม  ครูโรงเรียนบ้านเกาะนางคำเหนือ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ และนางสาวอารีย์ หลีโส๊ะ ครูโรงเรียนบ้านเกาะนางคำ (เบอร์โทรศัพท์ 082-8242125 อีเมล aree_881@yahoo.com) ได้ร่วมติดต่อประสานกับสมาคมฯ เพื่อร่วมดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษา โดยให้เด็กได้ใช้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ผ่านการทำกิจกรรมที่มีความหลากหลาย  โดยการดึงอาสาสมัครนานาชาติไปดำเนินการในการนำกระบวนการกิจกรรม ทำให้เด็กได้ฝึกกระบวนการฟัง คิด พูด อ่าน เขียน และสามารถแลกเปลี่ยนภาษา และวัฒนธรรมกับอาสาสมัครนานาชาติได้ จึงได้ริเริ่มโครงการค่ายอาสาสมัครระยะสั้นขึ้นในปี 2558 ในช่วงแรกเริ่มของการดำเนินโครงการเพื่อรับอาสาสมัครนานาชาติที่เป็นเจ้าของภาษา ได้เข้ามาช่วยเสริมกระบวนการด้านการสอนให้มีความชัดเจนขึ้น  และเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน ระหว่างเด็กในชุมชน และอาสาสมัครนานาชาติ รวมทั้งอาสาสมัครไทย ได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ในชุมชนบ้านเกาะนางคำเหนือ และในปี 2561 ช่วงเดือนกันยายน ทาง รร บ้านเกาะนางคำ ได้มีโอกาสเปิดรับอาสาสมัคระยะยาวเป็นครั้งแรก ระยะเวลา 1 เทอม ซึ่งเด็ก ๆ และชุมชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก


วัตถุประสงค์โครงการ
– เพื่อสนับสนุนกิจกรรมในโรงเรียน/ชุมชน
– เพื่อจุดประกายความคิดและองค์ความรู้การด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่น
– เพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
– เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาสาสมัคร เด็กในชุมชน คนในชุมชน / แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม
– เพื่อเปิดพื้นที่แก่เด็กเยาวชนในชุมชนมีความกล้าแสดงออก มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาษา


อาหาร
อาหารจะเน้นอาหารท้องถิ่น เนื้อสัตว์ ผัก ปลา ที่หาซื้อได้ง่ายในหมู่บ้าน เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีการประกอบอาชีพประมง อาหารของคนในชุมชน  จึงเป็นอาหารประเภทปลาเป็นส่วนใหญ่ และเป็นอาหารฮาลาล (อาหารที่ปรุงตามหลักการของอิสลาม) อาสาสมัครสามารถช่วยประกอบอาหารร่วมกับผู้ดูแลโครงการ ในระหว่างค่ายจะจัดให้ มี international food day  อาสาแต่ละชาติจะทำอาหารของบ้านตัวเอง


 ที่พัก  ห้องน้ำ
อาสาสมัครจะพักที่บ้านของอาสาในชุมชน ไม่ห่างไกลจากโรงเรียนมากนัก สามารถเดินไปโรงเรียนได้ ตั้งอยู่ในชุมชน มีห้องน้ำ ห้องครัวในตัว และชุมชนบ้านเกาะนางคำ เป็นชุมชนมุสลิม การปรุงอาหารจึงต้องเป็นอาหารฮาลาล ตามหลักการของศาสนาอิสลาม ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การแต่งการมิดชิด ผู้ชายใส่กางเลยเข่า ผู้หญิงแต่งตัวสุภาพ เรียบร้อย


ข้อควรทราบ
ในชุมชนมีร้านขายของชำ ที่อาสาสมัครสามารถหาซื้อของที่จำเป็นได้  สำหรับการซื้อของอื่นๆที่ไม่มีขายในชุมชน อาสาสมัครสามารถเข้าไปซื้อของ ติดต่อธนาคาร ใช้อินเตอร์เน็ต หรือติดต่อโรงพยาบาล ในตัวเมืองปากพะยูนได้ ซึ่งอยู่ห่างจากชุมชนบ้านเกาะนางคำประมาณ 10 กิโลเมตร อาสาสมัครสามารถติดต่อประสานงานผู้ดูแลโครงการเพื่ออำนวยความสะดวกได้


คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม

–       ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้
–       มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ
–       รักเด็ก สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น
–        ไม่ยึดติดกับวัตถุและค่านิยมเมือง สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นได้
–       เคารพความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น พร้อมเปิดใจรับและเข้าใจความเป็นชุมชน


 การติดต่อสื่อสาร  สามารถใช้โทรศัพท์ ได้ทุกระบบตามปกติ ไม่มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ได้ผ่านเครือข่ายมือถือ แต้ต้องไม่ใช้เกินความจำเป็น