DaLaa is a strong and beautiful flower from Southern Thailand which can pop up and blossom everywhere around. It is usually pink but can be white or red variety as well. Moreover, it can be eaten in “kao yam” salad and cooked with other dishes too. It has a strong taste. Would you like to try it?

DaLaa organization was founded in 2004. Our birthday is October 20th, at the date we gathered for our first workcamp/seminar. Most of us having had good experience in international volunteering, and believing in its value for our society, we followed our dream to create our own volunteer organization, starting from nothing but friendship.

We wanted to support initiatives, especially for the people (and children) living in the countryside of Thailand, for example the villages some of us come from. We wished that volunteers from Thailand and from all over the world to work together with the local people. In this way we hope to create more friendships and understanding between each other. Also by doing voluntary work, people get a good experience in working out of their heart, sharing and learning other ways of doing things, speaking English, learning Thai and having fun together.

We organized few workcamps (2 weeks each) in 2005, mainly in partnership with local schools, always happy to welcome foreign volunteers.

In 2006 and 2007, workcamps were becoming more regular, we organized other kinds of projects like agriculture, environment, renovating schools and we could pay a small salary for one of us.

Then in 2008, we took a bigger step. We started to experience with Middle and Long Term Volunteers and we were getting quite a lot volunteers in our workcamps. With the money saved, we could start to grow up with 4 paid staff, working in a real office and had a full time workcamp leader. It is this year that we got officially registered as an association.

Since beginning of 2011, we are focusing on a few MLTV placements; the workcamps are often held in MLTV sites to support their activities or to get into contacts with new communities.

DaLaa relies on the local knowledge and wisdom. We are well aware of the local needs and challenges.

Little by little, we could create a strong network thanks to powerful hosts and communities.

In 2016, we moved our office from Hatyai city to the countryside, and nowadays we are trying to build our own community on the side of our office work, we call it VSC, Voluntary Servcie Center/Community. It’s the open gate for new interested people to become volunteer.

Let’s break the barriers and fears in ourselves, let’s support authenticity, let the human be, let the nature be, let’s become responsible and autonomous, the path toward freedom, let’s join and support these network of active communities working for social growth and environment preservation. Let’s be part of it. Let’s include the good will people we meet on the road.

Let’s join hands to create the world in peace we all deserve.

I am Ayano Minoura, 21  years old, from Japan. I volunteererd for 3 months in Koh Sukorn.

The main activity there was agriculture, especially we did gardening (organic vegetables), harvesting rice, fishing. Besides that we also visited the kindergarten and organised activities for the children. But for me I can say that the biggest task was to learn Thai language actually.

Through my volunteering, I saw a totally different lifestyle from the Japansese one, and it was a really good opportunity for me to rethink about how to live, about my future life. And the biggest thing that I realized was actually that I am a person who prefers to live surrounded by nature, than to live in the city! And now I know how to live more happily!

One of the biggest challenges for me was to learn the Thai language. Since there was no English speaker on that island, I had no choice but to speak Thai! I managed this difficulty thanks to other volunteers’ help. I don’t have a tough mind enough to overcome this by myself.

My best memories – working, learning, living and eating together with the local people, and with other international volunteers. It was so simple life there but at the same time, it was the most happiest time in my life. I surely would recommend anyone to be a volunteer.

ภาวิตา ยะสะนพ

Volunteer team in IJGD

ฉันชื่อ น.ส.ภาวิตา ยะสะนพ ชื่อเล่น เบคก้า เป็นอาสาสมัครในโครงการ Weltwärts ประเทศเยอรมันนี เป็นระยะเวลา 12 เดือน ในศูนย์ดูแลคนพิการ โดยองค์กรที่ฉันอยู่นั้นเป็น Day care สำหรับคนพิการที่มีอายุตั้ง 18 ปีขึ้นไป เป็นเหมือนกับสถานที่ที่บุคลเหล่านี้จะได้มาทำงานและใช้ศักยภาพของตัวเองในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับผู้พิการคนอื่นๆในกลุ่มและในทุกๆวัน จันทร์-ศุกร์ คนพิการเหล่านี้จะมาที่ศูนย์ ในตอนเช้าตั้งแต่เวลา 8.00-15.00 น. เพื่อทำงานร่วมและกิจกรรมร่วมกัน แต่ละกลุ่มจะมีคนพิการจำนวน 8-9 คน และเจ้าหน้าที่ดูแล 3-4 คน สิ่งที่พวกเราทำกันประจำในแต่ละวัน ก็จะเป็นการจัดเตรียมโต๊ะสำหรับมื้ออาหารในตอนเช้า และตอนเที่ยง,กิจกรรมสันทนาการต่างๆ เช่น ร้องเพลง เต้น เล่นเกมส์,งานประดิษฐ์,ทำสวน,ไปซื้อของในซูปเปอร์มาเก็ต ฯลฯ และที่สำคัญคือในแต่ละปี ทุกๆกลุ่มจะมีโปรเจคที่รับผิดชอบและทำร่วมกัน ซึ่งกลุ่มที่ฉันอยู่ทำโครงการเกี่ยวกับประเทศกรีก และกิจกรรมของพวกเราก็จะทำ อาหาร เครื่องดื่ม งานประดิษฐ์ เพลง หรือแม้บริบทโดยรอบเกี่ยวกับประเทศกรีก ซื่งตอนแรกมันไม่ง่ายเลยสำหรับคนที่พึ่งจบมัธยมปลาย และไม่มีความรู้ใดๆเลยในการดูแลและทำงานร่วมกับคนพิการแบบฉัน ซึ่งแน่นอนว่าคนพิการไม่ใช่คนปกติแบบพวกเราที่สามารถทำอะไรๆเองได้แบบพวกเรา จึงต้องมีการดูแลอย่างเช่น ป้อนข้าว ป้อนน้ำ และการเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือทำความสะอาดหลังจากเสร็จธุระ ในฐานะอาสาสมัครงานจริงๆก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องทำทุกอย่าง แค่ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่หลักเวลาที่เค้าต้องการความช่วยเหลือ แต่มันจะยากตรงที่คนพิการแต่ละคนมีความบกพร่องและความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งมันต้องใช้เวลาสักระยะนึงในการเรียนรู้ และด้วยปัจจัยอื่นๆอีก เช่น การต้องมาอยู่ด้วยตัวเองในที่ที่ห่างไกลจากบ้าน และครอบครัว ต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ยอมรับเลยว่ามันค่อนข้างหนักในช่วงแรกๆ บางครั้งฉันรู้สึกเหนื่อยกับการที่ต้องเปิดรับสิ่งใหม่ๆอยู่ตลอด รู้สึกหมดกำลังใจ หรือไม่แรงผลักดัน ฉันก็มักจะมีคำถามกับตัวเองว่า ฉันมาที่นี่เพื่ออะไร? ฉันต้องการอะไรจากที่นี่? และไม่ว่าจะคิดในมุมไหนมันก็จะออกมาเป็นคำตอบเดียวกันหมด นั่นก็คือ “การเก็บเกี่บวประสบการณ์” ฉันได้เรียนรู้มากมายหลายสิ่งใน 1 ปี ไม่ใช่แค่ในด้านการเป็นอาสาสมัครหรือทักษะการทำงานแค่อย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการท้าทายตัวเองในสิ่งใหม่ๆ, การเอาชนะความกลัวและกล้าที่จะตัดสินใจทำในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยแม้แต่จะคิดว่าในชีวิตนี้จะโอกาสได้ทำ, การเข้าใจเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น เพราะการทำงานกับบุคคลเหล่านี้สิ่งสำคัญคือการเปิดใจให้กว้างที่สุด, การทำงานร่วมกับคนอื่นๆในสังคมที่มีความแตกต่างและความหลากหลาย, การใช้ชีวิตด้วยตัวเอง, การเอาชนะและก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆด้วยตัวเอง เพราะ 1 ปีที่ผ่านมา แน่นอนว่ามีอุปสรรคและเรื่องราวต่างๆที่ทำให้ฉันท้อและยากที่ผ่านมันไปได้ และฉันได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเวลาที่มีอุปสรรคต่างๆเข้ามานั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การรักตัวเองให้มากๆ กอดตัวเองให้แน่นๆ แล้วทุกอย่างมันจะผ่านไป มันอาจจะไม่ง่าย แต่ถ้าทำได้ มันจะเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจที่สุดสำหรับตัวเราเอง สุดท้ายฉันต้องขอบคุณครอบครัวของฉันที่คอยให้กำลังใจ สนับสนุน และคอยอยู่ข้างๆกันตลอดไม่ว่าฉะนจะตัดสินใจทำอะไร ขอบคุณดาหลา ที่สนับสนุนเปิดโอกาสให้ฉันได้มาเรียนรู้ หาประสบการณ์และเปิดโลกกว้างไกลถึงถึงประเทศเยอรมันนี

ชื่อโครงการ  เกษตรอย่างยั่งยืน

(ทำสวน ปลูกพัก และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม อาหาร นานาชาติ)

ค่ายบ้านโคกเหรียง  อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

ระยะเวลาโครงการ ตลอดทั้งปี

ประวัติโครงการ

ดาหลาเริ่มกิจกรรมกับบ้านโคกเหรียงตั้งแต่เดือนภุมภาพันธ์ 2556 เปิดเป็นโครงการระยะยาวต่อเนื่อง รับอาสาสมัครตลอดทั้งปี โดยมีกิจกรรมหลักคือ ทำเกษตร มีเจ้าของโครงการชื่อลุงแจงที่อยากทำเกษตรแบบปลูกเพื่อกิน ลุงแจงมีความคิดเกี่ยวกับการกินอาหารที่ปลอดภัย จะทำให้สุขภาพดี เพราะลุงแจงมีโรคประจำตัว(โรคหัวใจ) เลยต้องดูแลเรื่องการกินเป็นพิเศษ

ดาหลารู้จักลุงแจงได้อย่างไร เมื่อปี 2549 ดาหลาได้ร่วมงานกับชมรมคนแบกเป้มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เพ่อดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ จากนั้นดาหลา ชมรมคนแบกเป้และลุงแจงก็ได้ร่วมกิจกรรมด้วยกันมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งเมื่อปี 2556 ลุงแจงได้ลาออกจากงานประจำ เพื่อมาทำสวน ลุงแจงและเพื่อนมีความคิดอยากปลูกผักกินกเอง ปลูกแบบผสมผสานทุกอย่างในพื้นที่สวน 8 ไร่  ซึ่งในอนาคต ลุงแจงคาดหวังอยากให้พื้นที่บ้านลุงแจงเป็นพื้นที่ให้ชาวบ้าน รวมถึงคนจากชุมชนข้างนอกสามารถเข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วยกันได้ ดาหลาจึงสนับสนุนความคิดของลุงแจง ด้วยการเสนอให้มีอาสาสมัครนานาชาติในพื้นที่ ไว้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องการเกษตรต่อไป เมื่อโครงการได้เริ่มขึ้น ดาหลาได้ส่งอาสาสมัครระยะยาวอย่างต่อเนื่อง และได้จัดกิจกรรมค่าระยะสั้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์บ้างในบางเดือน เพื่อเปิดพื้นที่ให้คนที่อยากทำทำสวน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเกษตร บางเวลาก็มีกลุ่มเยาวชนจากพื้นที่ต่างๆมาร่วมกิจกรรมด้วย เช่น กลุ่มยิ้มจากยะลา กลุ่มเยาวชนโรงเรียนคลองโต๊ะเหล็ม จังหวัดสตูล เป็นต้น

กิจกรรมที่จะทำ

– ทำเกษตรเช่น ปลูกผัก เลี้ยงปลา รดน้ำพืชผัก ผลไม้ ในสวน เวลาทำงานแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงเช้าเวลาประมาณ 7-10 โมง และช่วงเย็น16.00-18.00 น.

–  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม วัฒนธรรม อาหาร กับเพื่อนอาสาสมัครนานาชาติ

บริบทชุมชน

บ้านโคกเหรียงตั้งอยู่ที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา  อยู่ห่างจากสนามบินหาดใหญ่ประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา แต่ก็มีบางส่วนที่เดินทางออกมาทำงานในตัวเมืองหาดใหญ่ เนื่องจากบ้านโคกเหรียงเป็นชุมชนใกล้เมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจในเรื่องการเพาะปลุกผักกินเอง ทั้งๆที่พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก เน้นการซื้อจากท้องตลาดเป็นหลัก เช่นเดียวกันท้องทุ่งนาก็ได้ปล่อยว่างไม่มีการทำนา มีเพียงบางครอบครัวเท่านั้นที่ยังคงทำอยู่ มีร้านค้าชุมชนเป็นจำนวนมาก ไม่มีตู้ ATM กดเงินสด

อาหาร

รับประทานอาหารทุกประเภท แต่ลุงแจงเจ้าของโครงการจะทำอาหารเพื่อสุขภาพเป็นหลัก เพราะลุงแจงจะให้ความสำคัญเรื่องกินมากที่สุด การทำอาหารลุงแจงจะเป็นคนทำเป็นหลัก อาสาสมัครจะต้องช่วยลุงแจงในการเตรียมอาหารและบางครั้งจะต้องทำอาหารเองบ้าง มีครัวสำหรับที่ทำอาหารเพียบพร้อม อาหารที่บ้านลุงแจง ไม่มีการใส่ผงชูรส รสดี หรือส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และลุงแจงเน้นเรื่องความสะอาดและความเป็นระเบียบของของบ้าน

ที่พัก

อาสาสมัครพักที่บ้านของลุงแจง ตอนนี้มีห้องพักสำหรับอาสาสมัคร 3 ห้อง ห้องละ 2 คน แยกนอนชายหญิง เว้นแต่กรณีที่แต่งงานแล้วสามารถอยู่ด้วยกันได้ หรือถ้ามีค่ายระยะสั้นเกิดขึ้น จำนวนอาสาสมัครหลายคน ก็จะนอนในบริเวณพื้นของบ้าน มีมุ้ง และเต้นท์ ไว้สำรอง พื้นบ้านเป็นโล่งโถ่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก

ซักผ้า
ซักผ้ากับเครื่อง แต่ห้ามซักชุดชั้นใน กางกางใน  ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เตรียมมาเอง

ห้องน้ำ

มีห้องน้ำสำหรับอาสาสมัคร 2 ห้อง สามารถใช้ส้วมและอาบน้ำในห้องเดียวกัน
คุณสมบัติของอาสาที่จะเข้าร่วม

–  ชอบทำเกษตร และชีวิตแบบเรียบง่าย  ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนได้

–  ใจกว้าง พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้

–  มีความคิดสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมต่างๆ

จำนวนอาสาสมัครระยะยาวที่เปิดรับสมัคร

–   อาสานานาชาติ 5 คน

–   อาสาสมัครไทย  2 -3 คน

การติดต่อสื่อสาร

สัญญาณโทรศัพท์ใช้ได้ทุกระบบ มีอินเตอร์เน็ต สามารถใช้ WIFI ได้ แต่ต้องไม่ใช้ในเวลาที่ทำงาน สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เมื่อเป็นเวลาพักผ่อนเท่านั้น

การเดินทาง

–  จากกรุงเทพ สามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีหาดใหญ่  หลังจากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้าหรือสีขาว ที่เขียนว่าสนามบิน หรือตลาดเกษตรแต่ต้องเดินออกมาจากสถานีรถไฟหาดใหญ่ มาขึ้นรถสองแถวที่หน้าตลาดกิมหยง (สามารถถามแม่ค้าระหว่างทางได้) ใช้เวลาในการเดินไปตลาดกิมหยงประมาณ 10 นาที และใช้เวลาในการนั้งรถสองแถวประมาณ 20 นาที ค่าโดยสารประมาณ 10 บาทตลอดสาย เมื่อถึงที่ศูนย์โตโยต้าหาดใหญ่ในให้เตรียมตัวกดกริ่งลงหน้าหมู่บ้านรติมา เดินเข้าซอยเพชรเกษม 43 (จุดสังเกต ป้ายสีเขียนเขียนว่า พอตารีสอร์ท) เดินเข้าซอยประมาณ 5 นาที สำนักงานดาหลาอยู่กลางซอย มีป้ายดาหลาติดอยู่ในบ้านสามารถเห็นได้ชัด บ้านเลขที่ 86

–   รถบัส กรุงเทพ หาดใหญ่ หลังจากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้าหรือสีขาว ที่เขียนว่าสนามบินขนส่ง หรือตลาดเกษตรแต่ต้องเดินออกมาจากสถานี บขส.หาดใหญ่ มาขึ้นรถสองแถวที่หน้าเซเว่นอีเลเว่น (สามารถถามแม่ค้าทางได้) ใช้เวลาในการนั้งรถสองแถวประมาณ 35 นาที ค่าโดยสารประมาณ 10 บาทตลอดสาย เมื่อถึงที่ศูนย์โตโยต้าหาดใหญ่ในให้เตรียมตัวกดกริ่งลงหน้าหมู่บ้านรติมา เดินเข้าซอยเพชรเกษม 43 (จุดสังเกต ป้ายสีเขียนเขียนว่า พอตารีสอร์ท) เดินเข้าซอยประมาณ 5 นาที สำนักงานดาหลาอยู่กลางซอย มีป้ายดาหลาติดอยู่ในบ้านสามารถเห็นได้ชัด บ้านเลขที่ 86

–  เครื่องบินจากกรุงเทพ ลงสนามบินหาดใหญ่ หลังจากนั้นต่อรถสองแถวสีฟ้า ที่เขียนว่าขนส่ง สนามบิน หรือตลาดเกษตรแต่ต้องเดินออกมาจากสนามบินหาดใหญ่ มาขึ้นรถสองแถวที่หน้าถนนทางออก (สามารถถามผ่านประชาสัมพันธ์ได้) ใช้เวลาในการนั้งรถสองแถวประมาณ 20 นาที ค่าโดยสารประมาณ 20 บาทตลอดสาย เมื่อถึงที่ราชาเฟอร์นิเจอร์ให้เตรียมตัวกดกริ่งเดินข้ามถนนมาอีกฝั่ง สังเกตชื่อหมู่บ้านรติมา เดินเข้าซอยเพชรเกษม 43 (จุดสังเกต ป้ายสีเขียนเขียนว่า พอตารีสอร์ท) เดินเข้าซอยประมาณ 5 นาที สำนักงานดาหลาอยู่กลางซอย มีป้ายดาหลาติดอยู่ในบ้านสามารถเห็นได้ชัด บ้านเลขที่ 86
เงื่อนไขการร่วมโครงการ

1.ต้องเสียค่าบำรุงสมาคมเดือนละ 3,500 บาทซึ่งจะนำมาเป็นค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วม ค่าที่พัก ค่ากิจกรรมต่างๆ ของสมาคม

2.ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และต้องแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบก่อนเข้าร่วมโครงการ

3.ผู้เข้าร่วมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลความปลอดภัยของตนเอง

4.ผู้เข้าร่วมต้องร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 1 เดือน

5.ของส่วนตัวผู้เข้าร่วมต้องเตรียมเอง (ยาสระผม ผงซักฟอก แป้ง สบู่ )

สิ่งที่ต้องเตรียมมาร่วมค่าย

1.ถุงนอน หรือผ้าห่ม

2.เสื้อผ้าสำหรับสวมใส่ 2 สัปดาห์ (ผู้หญิงเสื้อแขนกุด กางเกงขาสั้นไม่อนุญาตใส่ระหว่างค่าย)

3.เสื้อผ้าสำหรับใส่ทำงาน สามารถสกปรกได้ และไม่เสียดายทีหลังค่ะ

4.อุปกรณ์กันแดด หมวก ครีมกันแดด

5.ถุงมือ และรองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าหุ้มส้น สำหรับทำงาน

6.รูปถ่าย หรืออาหารท้องถิ่นของตนเอง (สำหรับมาแลกเปลี่ยนกับผู้ร่วมค่ายคนอื่น ๆ)

7.สเปรย์กันยุง (กรุณาเลือกอันที่เป็นมิตรกับสิงแวดล้อม)

8.ไฟฉาย (เลือกแบบที่สว่างมาก ๆ และควรเป็นแบบชาร์จแบตเตอรี่ )

9.ความคิดสร้างสรรค์ เกมส์ เพลง เพื่อความบันเทิงในค่าย

10.ความคิดด้านบวก มองโลกในแง่ดี และรอยยิ้มที่สดใส

11.เมล็ดพันธ์ผัก (ถ้ามี)

สิ่งที่ห้ามนำมาในค่าย

1.สารเสพติด

2.แอลกอฮอล์

3.อคติ หรือความคิดด้านลบ

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา)

86 เพชรเกษม 43 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  90110

www.dalaa-thailand.com

Email: dalaa.thailand@gmail.com

Tel. 074 266 286