Hey there,

My Name is P Can and I was an one year volunteer in Kok Payom village from 2012 until 2013. I just arrived in Germany in my old Family after having a very emotional Goodbye from the villagers and the Dalaa stuff. Staying for one year allowed me to understand many actions and to get involved in many activities outside of the normal life of a volunteer. Here in this entry I would like to share a small bit of my Thai experience:

I remember arriving in Kok Payom. I was shocked by the fact that everybody had a single standing house. Soon however I understood that the front doors are never closed apart from the nights. I was part of a real Thai community now. And believe me this was a big change for me. Coming from a city where people run after their own business without looking to the left and the right I was going to spent one year in a village where everybody knows each other. Yes in fact you always have to assume that they are even related to each other as there are only 3 main clans living in Kok Payom by now. These Families care about us volunteers and they host us like brothers and sisters. It is difficult to understand this at the beginning, but once you live there and you see the older volunteers acting with the villagers you see that they could be mother and son. I in fact also found a second mum and dad in the village. The people allowed me to join any activity. They invited my with a smile and patiently explained me what they were doing. Than even though it is there work in the Rubber plantation or in the Rice fields they let me help them and they are pleased seeing us being interested in their lifestyle. The strongest experience was probably the language. In the first month I didn’t understand a word of what they were saying to me and so rather than speaking I had to observe a lot and communicate with sign language. Than learning Thai by myself and giving it a try in the village was the most fun, because you could see the happiness in their faces when I opened myself to them. Trying to make sentences like: “Your house is big. Your house is beautiful. I like your house!” The learning went on steadily and soon I was able to speak about whatever I wanted. This were definitely the month where it was the most fun living in the village. And on my flight back to Germany I understood nearly everything the Captain said in Thai through the Microphone.
The experience was really strong for me and I feel like I could go on telling you about it for ages. There are so many stories to be told. I have also left many documents in Kok Payom so if you will go there one day one day you might hear about me. =).
If you would like to see more photos or read about my personal experiences you can visit my Blog:
www.silvangoesthai.wordpress.com
Otherwise you can always ask Dalaa for my E-mail address! I am burning to help you and your volunteering career.

Sawaddee everyone,

Happy belated Thai New Year’s. Pi Chaba (Leslie from Belgium), one of our Kok Payom volunteers who just finished her term not long ago, has shared some of her thoughts from her voluntary service time with us.

สุขสันต์วันสงกรานต์ย้อนหลังค่ะ ทุกคน

วันนี้ เรามีข้อความสั้นๆจากพี่ชบา หรือเลสลี่ อาสาสมัครจากประเทศเบลเยี่ยมที่ได้ไปร่วมค่ายที่โคกพยอม และเพิ่งเดินทางกลับประเทศไปเมื่อไม่นานมานี้ ใครอยากรู้จักมุมมองที่แตกต่างของพี่ชบา สามารถอ่านได้จากข้อความด้านล่างนี้ (พวกเราจะแปลเป็นภาษาไทยให้เร็วๆนี้นะจ๊ะ)
Volunteer work, a story of life

It’s the second time that I am a long term volunteer, my first experience was in Kenya, I stayed there for 6 month. I thought it would be my last experience, I even wanted to live in Kenya forever but my work situation allows me to take 3 month to live again this wonderful experience but in Thailand this time.

The project was in Kok payom village and I lived in a place called Salaa and I shared this place with other volunteers. We were English teachers in 3 schools. For me, teaching kids was more a way to be with the kids by teaching them, and when you are with the kids, you meet the parents, and when you are with the parents, you are part of the village and that was exactly what I wanted.

When you know that you stay there for a short time, if you really want to BRING something to people, to the village, if you want to leave something behind you or, in this case, that kids talk English before you leave, you can be very frustrated, you can be hurt by the kids, by their lack of motivation sometimes and each difficulties you meet like “ohhhh today, what did they learn from me?” will be very difficult to accept because you want to change their lives but when you come without any expectations, except be with people, learn from them and live with them, you are never disappointed, every day, you know more about the culture, about the Thai way of life, the Thai food, everything is new and everything is surprising. Every Thai word you learn is a new way to communicate with people.

Finally, I think I Iearned more Thai that they learned English, even if the aim of each lesson was to teach them English but I’m not sure that learning English for them was so important because English language is just a way for them to communicate with tourist or volunteers. Also Thai and English are so different… I understand that they prefer learning Arabic language because with that, they can practice their religion how they decide, or how they think it’s the right way for them. Also, the international volunteers learned how to speak Thai so no need for them to learn our language.

I think to be a volunteer is not easy for everybody and can be very frustrating for people who really want to change the local life of people and it can be bad for the local people to see that volunteers want to change their way of life and it gives the idea that other countries are better than them and for me, as a volunteer, it was exactly the opposite message that I wanted to bring.

They have everything we can dream about: they live together, learn together and work together, a thing that we often forget in our countries and I was very proud to be part of this process with them.

เมืองอิฟูเกา ระหว่างวันที่ 7-18 กรกฎาคม 2557

เลือกร่วมกิจกรรมค่ายอาสาที่ฟิลิปปินส์ เพราะเห็นภาพ นาขั้นบันไดจากกูเกิ้ล คืออลังการมาก อยากมี  พื้นที่เขียว ๆ เพดานสีฟ้า ๆ เป็นห้องทำงานดูบ้าง เหตุผลที่เลือกมีแค่นี้จริง ๆ ค่ะ ไม่ได้เลือกอะไรมาก  เลย  แต่รู้สึกไม่ค่อยดีเลยกับวันที่เหยียบมะนิลาครั้งแรก คือโดนต้มตุ๋นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น  แท็กซี่ ร้านอาหาร หรือบริการ คือรู้สึกแย่ขึ้นมาเลยที่เลือกที่จะมาฟิลิปปินส์ แต่แอบหวังว่า ต่างจังหวัด  จะเป็นที่ที่อบอุ่นและเป็นมิตรกว่านี้

ซึ่งอิฟูเกา ไม่ทำให้ผิดหวัง ทั้งคนและธรรมชาติ

วินาทีแรกที่เห็นนาขั้นบันได คือ ไม่ผิดหวังที่นั่งรถมาจากมะนิลา 9 ชั่วโมง คือ สวยมาก ความรู้สึกกับ  กิจกรรมคือทุกอย่างเป็นไปตามแพลนที่แจ้งให้อาสาสมัครทราบ ยืดหยุ่นบ้างตามสถานการณ์ ถือว่าไม่  แน่นมาก และไม่น่าเบื่อมี โอกาสได้ทำเกือบทุกอย่าง ได้ไปหลาย ๆ ที่ ไม่ใช่อยู่แค่ทำนาอย่างเดียว ได้  เห็นชีวิตความเป็นอยู่จริง ๆ ของคนพื้นที่ ได้รู้ปัญหาของการทำนาขั้นบันได และปัญหาเรื่องการขาดผู้  สืบทอดภูมิปัญญา

ความรู้สึกเกี่ยวกับเพื่อน ๆ อาสาสมัคร ส่วนใหญ่มาเพราะสมัครใจ เลยช่วยกันทำงาน และพร้อมที่จะเรียนรู้จากชาวบ้าน เลยไม่ค่อยมีปัญหาอะไร ส่วนการใช้ชีวิตร่วมกันอาสาสมัครส่วนใหญ่ถึงจะต่างวัฒนธรรมกันมาก ๆ แต่ทว่าแต่ละคนมีมารยาทสากล และมีความยืดหยุ่นสูง เลยไม่มีปัญหาระหว่างเพื่อนร่วมค่าย

ประทับใจทุกอย่างในค่ายยกเว้นอาหารและห้องน้ำ

เนื่องจากมีอาสาสมัครบางคนที่เคยชินกับการใช้ทิชชูในห้องน้ำแล้วทิ้งในชักโครก ซึ่งห้องน้ำค่ายเป็นโถชักโครกที่ต้องราดน้ำ วันท้าย ๆ เราจึงไม่มีห้องน้ำไว้ให้ปลดทุกข์กัน หนักหน่อยคือท่อตันเพราะดิน โคลน ลงไปสะสม น้ำขังอยู่ประมาณตาตุ่ม คือตอนนั้นเครียดเหมือนกัน ปวดปัสสาวะก็ต้องรอปลอดคน ลงไปปลดทุกข์ตามพุ่มไม้ตอนค่ำ ๆ ถ้าถ่ายหนักยิ่งแล้วใหญ่ เก็บไว้เข้าตามร้านข้าว  แล้วห้องน้ำที่นี่มีลักษณะพิเศษ เหมือน ๆ กันในแทบทุกบ้านที่ได้ลองเข้าคือ ในห้องน้ำจะมีแต่โถสุขภัณฑ์ ถังน้ำที่ใช้ราดจะอยู่นอกตัวห้อง เวลาเข้าห้องน้ำเราต้องตักน้ำจากข้างนอก ใส่กระป๋องน้ำหิ้วเข้ามาเตรียมไว้ก่อนทำธุระ  ส่วนห้องอาบน้ำที่แคมป์ ไม่มีประตูปิดค่ะ เวลาอาบน้ำคือ เอาผ้าขนหนูขึงกั้นแทนประตูไว้เฉย ๆ ก็มีบ้างที่ห้องข้าง ๆ หยิบของแล้วผ้าขนหนูร่วงก็เป็นที่ขำขันหยอกล้อกันไป สำหรับชาวยุโรปก็ไม่ค่อยเป็นปัญหาอะไร แต่สาว ๆเอเชียนี่จะตื่นเต้นกันมากกับห้องน้ำไร้ประตูอันนี้ เชื่อว่าครั้งต่อไปคงมีการปรับปรุงค่ะ พวกเราตอนนั้น รู้สึกไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ แต่พอมานึกย้อนไป มันเป็นความทรงจำนึงที่ต้องพูดถึงแน่ ๆ ถ้าเล่าถึงการมาค่ายอาสาครั้งนี้

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากค่ายอาสาครั้งนี้คือ คนที่นี่เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติได้ดีจริง ๆ ค่ะ เค้าอยู่ได้โดยไม่ใช้โฟม รณรงค์อย่างเคร่งครัดว่าจะต้องให้ลูกหลานแยกขยะ คือในความคิดเราคือเค้ามีความคิดแบบ คนละครึ่งทางระหว่างคนกับธรรมชาติ อิฟูเกามีเทคโนโลยีพอ ๆ กับบ้านเรา แต่บางอย่างคนก็รับ บางอย่างเค้าก็แค่รู้ว่ามีเฉย ๆ แต่ก็ไม่ได้เห็นความสำคัญที่จะขาดไม่ได้

อีกอย่างคือการเรียนรู้ระหว่างการใช้ชีวิตร่วมกับอาสาสมัครต่างชาติ ทำให้เรียนรู้เรื่องการปรับตัว การยืดหยุ่นยอมรับสิ่งที่แตกต่าง ไม่ยึดมั่นกับความเป็นตัวเองมากเกินไป แต่ก็ไม่ได้สูญเสียความเป็นตัวเองโดยสิ้นเชิง หลายครั้งที่คนเราทะเลาะกันเพราะความต่าง ไม่ว่าจะด้วยความคิด การกระทำ หรืออะไรก็แล้วแต่ ความแตกต่างไม่ใช่ปัญหา แต่การคิดว่าคนอื่นทำอะไรในแบบที่เราไม่ทำคือความผิด นั่นคือปัญหา  การเข้าค่ายอาสาต่างชาติทำให้เราเรียนรู้คนอื่น ไปพร้อม ๆ กับเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ให้ตัวเองด้วย ส่วนตัวคิดว่าตรงนี้จะช่วยให้เรามีทัศนคติในการดำเนินชีวิตมากขึ้นค่ะ

เมือง Gokseong ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2557

สวัสดีค่ะ ชื่อนินะคะ อายุ 25 ปีค่ะ  โดยปกติแล้วเป็นคนชอบทำกิจกรรม outdoor activities  และชอบท่องเที่ยว  ตามธรรมชาติค่ะ พอหลังจากที่ได้เห็นข่าวจากค่ายดาหลา ว่ามี workcamp ของประเทศเกาหลี ที่เราจะได้มีโอกาส  ไปสอนหนังสือเด็กและทำกิจกรรม outdoor activities ก็เลยสนใจและสมัครไป ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพี่ ๆ ทีม  งานของดาหลาที่ให้คำแนะนำและบอกข่าวดี ๆ ให้ได้รับรู้ และได้มีโอกาสไปเข้าร่วม รวมทั้งคำแนะนำดี ๆ สำหรับ  การเตรียมตัวไปทำค่ายต่างประเทศครั้งแรก

สำหรับค่ายนี้เป็นค่ายต่างประเทศครั้งแรกรู้ สึกประทับใจในตัวเพื่อนร่วมที่เป็นคนสนุกสาน เฮฮา เปิดเผย และจริงใจ  ระหว่างค่ายเราทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างร่วมกัน มีวันเวลาดี ๆ ให้จดจำ เล่นเกมส์ คิดกิจกรรมให้น้องเล่น ร่วมกันแก้  ปัญหาเวลาน้องไม่ค่อยให้ความร่วมมือ รวมทั้งยามที่เพื่อนคนใดในค่ายมีปัญหา  เราไม่เคยทิ้งกันเลย ตัวอย่างเช่น  บ้านพักของเราอยู่ล้อมรอบด้วยภูเขาและทุ่งนา เราใช้จักรยานในการเดินทางไปที่อื่น ๆ และบ่อยครั้งเราก็เกิดปัญหา  จักรยานล้มหรือเวลาไปเล่นน้ำลื่นตกลงไป เพื่อน ๆ ที่ค่ายก็ดูเลเป็นอย่างดี

เรื่องที่ประทับใจที่สุดมีอยู่สามเรื่องคือ ค่ายนี้เป็นค่ายเกี่ยวกับธรรมชาติดังนั้น เราเลยได้ทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่  เกี่ยวกับธรรมชาติมาก ๆ อย่างเช่น วันรักษ์สิ่งแวดล้อมเราต้องไปอาบน้ำ ล้างหน้า กับแปรงกันที่น้ำตกเล็ก ๆ มันให้  ความรู้สึกที่แปลก ๆ แต่รู้สึกสนุกและชอบในเวลาเดียวกัน  คูล!!

สิ่งที่สองคือประทับสถานที่ gokseong สถานที่นี้เป็นเหมือนหมู่บ้านเล็ก ๆ`แต่เป็นธรรมชาติมาก ๆ  ต้นไม้เขียว ชอุ่มอุดมสมบูรณ์ ตอนที่ได้ปั่นจักรยานกลางทุ่งนาและภูเขาเป็นความรู้สึกที่ฟินสุดแล้ว ร่วมทั้งมีเพื่อนและเด็กปั่นด้วยกันยิ่งเพิ่มความรู้สึกดีมากขึ้นไปเอง  การใช้ชีวิตอยู่ ที่นั่นก็สบาย ๆ เรียบง่าย คนที่นั้นก็ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์กินเอง สนุกสนานและเป็นกันเอง

สิ่งที่สามเป็นความประทับใจมาก ๆ ของเพื่อนร่วมค่ายและเด็ก ๆ เพื่อนร่วมค่ายที่นี้น่ารักมาก ๆ ตลก เฮฮา รั่ว สุด ๆ

เรามักจะเล่มเกมส์กันในยามว่างและยามที่ขี้เกียจล้างจานหรือหาผู้แพ้เพื่อรับหน้าที่ไปทำอะไรสักอย่าง ส่วนน้อง ๆ ที่อยู่ที่โรงเรียนน่ารักมากเช่นกัน เป็นเด็กดี มีน้ำใจและจริงใจมาก อย่างเช่นมีอยู่ครั้งหนึ่งน้องกำลังยืนกินแตงโมอยู่ที่ถาดใหญ่  เหลือแตงโมอยู่ในถาดชิ้นเดียว เห็นน้องคีบแตงโมอยู่นึกว่าน้องจะคีบใส่ปากตัวเองแต่เขากลับเอามาให้เราแทน รู้สึกประทับใจในเด็กน้อยมากเลย

สุดท้ายนี้ขอฝากไว้สำหรับใครที่สนใจไปค่ายต่างประเทศนะคะ ว่าอย่ากลัว ต่อให้จะไปคนเดียว เพราะประสบการณ์หรือสิ่งที่คุณจะได้กลับมานั้นมากมาย  มากกว่าการที่คุณไปนั่งเรียนในห้องเรียนหรือจ่ายเงินแพง ๆ ไปพักสถานที่ดี ๆ อะไรเสียอีก คุณจะได้สัมผัสอะไรที่มันเป็นดั้งเดิมหรือวิถีของเขาจริง โดยที่ไม่ต้องไปเดินตามหาตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เขาจำลองสร้างขึ้นมา  คุณจะได้เพื่อนจากหลากหลายประเทศ  คุณจะได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับคนอื่น คนที่มีนิสัยใจคอ วิธีการคิดที่เหมือนกับเราและไม่เหมือนกับเรา    มันเป็นอะไรที่วิเศษมาก ๆ จริง ๆ

เมือง Aso, Kumamoto ระหว่างวันที่ 2-15 สิงหาคม 2557

ค่ายอาสาสมัครที่ประเทศญี่ปุ่นนี้เป็นค่ายอาสาค่ายแรกในชีวิต เหตุผลที่ตัดสินใจไปคืออยากไปเที่ยว  ญี่ปุ่น และอย่างรู้เรื่องราวของความเป็น local ที่ญี่ปุ่น อาจเป็นเพราะอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นมาก จึงอยากเห็น  ของจริง

กลัวมาก เพราะเป็นค่ายอาสาค่ายแรก และเป็นค่ายต่างประเทศ ภาษาอังกฤษของเราถือว่าไม่ดีนัก พอ  พูดได้แต่สําเนียงไทยมาก กลัวคนที่ค่ายจะฟังไม่รู้เรื่อง แล้วก็กลัวฟังใครไม่รู้เรื่อง และญี่ปุ่นเป็น  ประเทศที่ไม่พูดอังกฤษนัก ก็กลัวอีกว่าจะไม่สื่อสารกับคนญี่ปุ่นในค่ายได้ แต่เมื่อได้เจอชาวค่ายจริง ๆ  แล้ว ค่อนข้างต่างจากที่คิด ทุกคนเป็นมิตรมาก พยายามจะสื่อสารกันด้วยวิธีต่าง ๆ แม้ว่าอังกฤษของเรา  (และของคนญี่ปุ่น) จะสําเนียงไม่ดี แต่ก็พยายามฟังกันจนรู้เรื่อง และถือเป็นโชคดีมากที่มีอาสาชาว  ญี่ปุ่นที่มีภาษาอังกฤษดี (พูดเป็นสําเนียงญี่ปุ่น แต่สื่อสารได้ดี) จึงเป็นคนคอยแปลภาษาอังกฤษและ  ญี่ปุ่น ทําให้ชาวค่ายสามารถสื่อสารกับคนท้องที่ได้

กิจกรรมในค่ายสนุกมาก ตามรายละเอียดค่ายคือ ช่วยชาวบ้านจัดเทศกาล ทําการเกษตร และ work with children ส่วนตัวคิดไว้ว่าคงหนักที่งานเกษตร แต่เอาเข้าจริงแล้วหนักที่ work with children ส่วนตัวไม่ใช่คนที่รักเด็กมากนัก แต่เด็กญี่ปุ่นทําให้เราประทับใจหลายอย่าง ทั้งความมีน้ำใจ ความมีวินัย ต้องชื่นชมชาวญี่ปุ่นว่าดูแลอนาคตของเขาได้ดีจริงๆ

การทําอาหารในค่ายสนุกมาก ได้กินอาหารหลายชาติทั้งญี่ปุ่น (ที่อาสาทําอร่อยมาก) อิตาลี (แปลกใหม่) และไต้หวัน บางครั้งอาหารอาจจะออกมาแปลก ๆ เพราะแต่ละคนไม่ได้เข้าครัวบ่อย แต่การได้กินรวมกันก็ทําให้อาหารอร่อยขึ้นมา ไม่มีใครบ่นแม้ว่าอาหารจะแปลกก็ตาม

ได้รับรู้เรื่องราวของประเทศต่าง ๆ เยอะขึ้นมาก ได้เพื่อนใหม่ (ที่บอกว่าถ้ามาไทยแล้วจะติดต่อมา แล้วถ้าไปประเทศเขาให้บอกเขาด้วย) ได้รับรู้ความแตกต่างด้านวัฒนธรรมมากมาย (ญี่ปุ่นแปรงฟันนอกห้องน้ําจริง ๆ นะ!!!)

สองอาทิตย์ที่ค่ายเหมือนจะยาว แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องจากกันทุกคนกลับรู้สึกว่ามันสั้นเหลือเกิน ถ้ามีโอกาสก็อยากจะเจอคนที่ค่ายอีก