ชุมชนวิถีไท (Withee Tai)

ชุมชนวิถีไท อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ: 1601MLTV
ประเภทอาสาสมัคร : ระยะกลางและระยะยาว (ตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป)
จำนวนอาสาสมัครที่รับได้  4 คน

ช่วงเวลาที่เปิดรับ : เริ่มรับอาสาสมัครตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไป-รับอาสาสมัครตลอดทั้งปี

ประวัติโครงการ

ชุมชนวิถีไทเริ่มต้นจากการการรวมตัวกันของครอบครัวที่ทำกิจกรรมทางสังคม ประมาณ 2-3 ครอบครัว โดยมีจุดมุ่งหมายปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาส จากการถูกครอบงำ ทางการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และสุขภาพ โดยเฉพาะทาสจากอัตตาตัวเอง โดยเริ่มจากการทำการศึกษาทางเลือกเพื่อความเป็นไท ให้กับลูก ๆ ของสมาชิกชุมชน และสมาชิกชุมชนท้องถิ่นอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมด้วย

ขณะเดียวกันชุมชนวิถีไท มีความต้องการที่จะรับอาสาสมัคร เพื่อมาเรียนรู้ร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยการศึกษาทางเลือก ที่มีจุดหมายเพื่อการหลอมรวมเป็นครอบครัวเดียวกัน และสร้างความสัมพันธ์ที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชุมชนวิถีไทพยายามที่จะปลดปล่อยตัวเองจากความเป็นทาสโดยเฉพาะอย่างยิ่งทาสทางจิตวิญญาณหรืออัตตา ด้วยกิจกรรมทางสังคมซึ่งเป็นรากฐานของการสร้างชุมชนใหม่ ผ่านกิจกรรมการงานในวิถีชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาด้านจิตวิญญาณ

Withee tai members in discussion

สภาพแวดล้อมชุมชน ประวัติศาตร์ชุมชน และที่มาของโครงการ

อำเภอชะอวดเป็นอำเภอหนึ่งทางด้านทิศใต้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาบรรทัดและทะเลจีนใต้ ในพื้นที่ประกอบด้วยป่า พื้นที่ป่าพรุ คลอง สวนยาง สวนปาล์ม นาข้าว และสวนผักอื่นๆ คนในพื้นที่ทำหัตถกรรมจากกระจูด คล้า ไม้ไผ่ นอกจากนี้พวกเขายังมีการละเล่นพื้นเมืองอย่างโนราห์ และหนังตะลุงอีกด้วย

บ้านท่าสะท้อน เป็นหมู่บ้านที่ครูเลี่ยมอาศัยอยู่ ระยะทางจากหมู่บ้านไปยังตัวอำเภอประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร ซึ่งเมื่อเข้าไปในตัวอำเภอจะมีโรงพยาบาล ตลาด ร้านค้า ธนาคาร ร้านอินเทอร์เน็ต และสถานีรถไฟ (เส้นทางกรุงเทพ-หาดใหญ่)

สมาชิกของชุมชนวิถีไท รวมทั้งแนวร่วมจากหมู่บ้านใกล้เคียงกันรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมทางสังคม โดยจะมีการประชุมกันเดือนละครั้งและกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ การพบกันครั้งแรกของคณะผู้ก่อตั้งที่ศูนย์แพทย์วิธีรรมภาคใต้ สวนป่านาบุญ 2 (ศูนย์หมอเขียว) จนเกิดการรวมตัวกันเพื่อการทำงานด้านการศึกษา และร่วมกันพัฒนาด้านใน(จิตวิญญาณ) เป็นแนวทางในการพัฒนาตัวเองและสังคม สมาชิกชุมชนมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับการศึกษาทางเลือก (1-2 ครัวทำบ้านเรียน) นอกจากความรู้ด้านการศึกษาทางเลือกแล้ว สมาชิกชุมชนยังมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตามแนวทางของการแพทย์ทางเลือก(การแพทย์วิถีธรรมและธรรมชาติบำบัด) เกษตรทางเลือก สมุนไพร คณะผู้ก่อตั้งมีความตั้งใจที่จะดำเนินงานให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครจากภายนอกนั้นจะช่วยให้เกิดพลังในการเรียนรู้ และการทำงานในหลายๆ มิติต่อโครงการอีกด้วย  ทั้งยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเป็นได้ทั้งนักเรียน และคุณครู แต่ในทุกๆ กิจกรรมจำเป็นต้องมีผู้ประสานงานหรือผู้ที่คอยอำนวยความสะดวกที่เป็นผู้ใหญ่ 1 คน เพื่อไตร่ตรองและสะท้อนวิถีความคิดของแต่ละคน ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยลดผลสะท้อนในด้านลบ และเจตนารมณ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น ลดอัตตะ (ego) ของแต่ละคนรวมทั้งช่วยพัฒนาจิตใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย

Withee Tai team

วัตถุประสงค์ของโครงการ

วัตถุประสงค์หลัก

– พัฒนาคุณภาพชีวิตบนวิถีแห่งความเป็นมนุษย์

– ส่งเสริมวิถีชุมชนแบบใหม่ ปลดปล่อยจากการครอบงำ จากแนวคิดทางสังคมที่เป็นอยู่ บนพื้นฐานครอบครัวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

วัตถุประสงค์รอง (ความต้องการของชุมชน)

– การมีอิสระที่จะเดินตามความฝันของตนเอง

– สร้างความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนในสังคม

– สร้างความเป็นหนึ่งเดียวและการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานของความหลากหลาย

การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานขององค์กร

ชุมชนวิถีไทมีเครือข่ายทางสังคมซึ่งค่อนข้างกว้างขวาง เช่น เครือข่ายการศึกษาทางเลือก เครือข่ายบ้านเรียนไท เครือข่ายสุขภาพทางเลือก องค์การด้านสิ่งแวดล้อม สมัชชาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เครือข่ายฝายมีชีวิต และภาคประชาสังคม และกลุ่มคนที่อยู่ในพื้นที่ ในอำเภอชะอวด

คุณสมบัติและจำนวนของอาสาสมัคร

อาสาสมัครที่จะสามารถเข้าร่วมในช่วงเริ่มต้นของโครงการนั้น จำนวนไม่เกิน 5 คน ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีความสามารถพิเศษใดๆ เพียงแค่มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมและปฏิบัติงาน

กิจกรรมหลักของอาสาสมัคร

– กิจกรรมร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนทางเลือกกับเด็กในชุมชนจำนวน 9 คน และเด็กในหมู่บ้านในตอนเย็นและวันเสาร์อาทิตย์

– ร่วมกิจกรรมประจำวันที่เป็นประโยชน์กับชุมชน เช่น เกษตรไร้สารพิษ ฟื้นฟูระบบนิเวศน์

– ร่วมงานค่ายสุขภาพกับศูนย์การเรียนรู้ตามหลักการแพทย์วิถีธรรม(หมอเขียว)และค่ายครอบครัว

– ร่วมวงสุนทรียะสนทนา(Dialogue)กับสภาชุมชนวิถีไท เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวางแผนเพื่อทำกิจกรรมซึ่งมีการประชุมในทุกวันที่10ของเดือน

– ร่วมกันวางแผน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประเมินผลการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครในแต่ละวัน

Clay mask
Self massage

การใช้ชีวิตประจำวันของอาสาสมัคร

มี 8 ครอบครัวหลักจาก 5 หมู่บ้าน ที่จะเป็นครอบครัวอุปถัมภ์อาสาสมัคร ซึ่งแต่ละครอบครัวจะมีความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อมข้างเคียงที่แตกต่างกัน อาสาสมัครจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแต่ละครอบครัวนั้น ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในช่วงนั้น

ศูนย์กลางของโครงการจะอยู่ที่บ้านของครูเลียม หรือเรียกว่า “อาศรมวิถีไท (Witeetai ashram)”  ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างจากดินเหนียว และมีไว้สำหรับต้อนรับอาสาสมัครในส่วนของการดำเนินชีวิต อาสาสมัครจะใช้ชีวิตตามวิถีของคนในแต่ละครอบครัวเหล่านี้

ตารางกิจกรรมอาสาสมัคร

วันเช้าเที่ยงบ่ายเย็น
อังคาร – ศุกร์-เรียนรู้ อยู่กับตัวเอง:กิจกรรมเชิงสุขภาพเพื่อพัฒนาหัวใจและจิตวิญญาณ   -ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ   -จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก,ชุมชน-จัดกิจกรรมกับเด็ก กับชุมชนวงสุนทรียเสวนาเพื่อพัฒนาจิตใจและอยู่ร่วมกัน
เสาร์-อาทิตย์-เรียนรู้-อยู่กับตัวเอง:กิจกรรมเชิงสุขภาพเพื่อพัฒนาหัวใจและจิตวิญญาณ   -ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ   -จัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก,ชุมชน-จัดกิจกรรมกับเด็ก กับชุมชนสรุปกิจกรรม/วางแผนกิจกรรมร่วมกัน
จันทร์–เรียนรู้-อยู่กับตัวเอง:–ทำกับข้าว กิจกรรมประจำวัน, ทำกิจกรรมในโครงการ     ตามอัธยาศัยตามอัธยาศัยตามอัธยาศัย

ที่พัก/อุปกรณ์การนอน: พื้นที่จัดเตรียมหมอน, แผ่นปูนอนแบบบาง และมุ้งไว้ให้ อาสาสมัครควรเตรียมถุงนอนหรือแผ่นรองนอนมาเอง หากต้องการความสะดวกสบายในระหว่างอยู่ในโครงการ

อาหารระหว่างอยู่ในค่าย: อาสาสมัครประกอบอาหารร่วมกับผู้ประสานงานในศูนย์หรือครอบครัว อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำเครื่องปรุงหรืออาหารท้องถิ่นมาประกอบอาหารร่วมกับพื้นที่และอาสาสมัครคนอื่นๆได้ในระหว่างเข้าร่วมโครงการ

การซักผ้า: ซักมือ

น้้ำดื่ม น้ำใช้: พื้นที่ซื้อน้ำดื่ม จากร้านค้าในชุมชน ส่วนน้ำใช้ใช้ระบบประปาครัวเรือน

สัญญาณโทรศัพท์ :  มีสัญญาณโทรศัทพ์ใช้ทุกเครือข่าย

การแต่งกาย : การแต่งกายของอาสาสมัครเมื่ออยู่ในชุมชน ควรแต่งกายมิดชิด เพื่อการให้เกียรติคนในชุมชน เนื่องชุมชนวิถีไท เป็นชุมชนวิถีพุทธ ที่ยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งการแต่งกาย เพื่อให้อาสาสมัครเป็นตัวอย่างที่ดีในการแต่งกายให้แก่เด็กในชุมชน อาสาฯควรใส่เสื้อมิดชิด กางเลยเลยเข่า หรือกางเกงขายาว หรือแต่งกายสุภาพ ตลอดการอยู่ร่วมในโครงการ.