ศูนย์บ้านหลังอ้ายหมี (Lang Ai Mee)

ชื่อศูนย์ : บ้านหลังอ้ายหมี

กิจกรรมกับเด็ก และอนุรักษ์ป่า 
รหัสโครงการ: DaLaa 1704MLTV 
รูปแบบค่าย: ค่ายระยะกลาง (2-6เดือน

ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

ระยะเวลาโครงการ : เปิดรับทั้งปี (หยุดเฉพาะปิดเทอม มีนาคม- เมษายน และตุลาคม)

บริบทชุมชน

ชุมชนหลังอ้ายหมีเป็นพื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา และอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทางภาคใต้ของประเทศไทย ทางชุมชนต้องการพลังของอาสาสมัครมาช่วยเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติและวิถีชุมชน จุดที่ตั้งของชุมชนหลังอ้ายหมีนั้นเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำชะอวด ดังนั้นในสมาชิกในชุมชนจึงช่วยกันรับผิดชอบที่จะทำให้ป่าต้นน้ำมีความสะอาด เพื่อให้น้ำได้ไหล และเป็นประโยชน์ต่อไป

สมาชิกในชุมชนหลังอ้ายหมีนั้น ได้ต่อสู้กับภาครัฐ เพราะว่าทางภาครัฐต้องการประกาศพื้นที่ส่วนนี้ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ และต้องการไล่คนในชุมชนให้ออกไปจากพื้นที่ นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้คนในชุมชนมีความแข็งแกร่งและสามัคคีกันเป็นหนึ่งเดียว

ปัจจุบันนี้ สมาชิกในชุมชนยังคงมีกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ในชุมชนยังมีศูนย์การเรียนรู้ที่มีพระเทพฯ ทรงเป็นผู้สนับสนับให้ทรงสร้างขึ้นโดยตำรวจตะเวนชายแดน และทางศูนย์ก็มีการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรมอีกด้วย

สภาพทั่วไปของชุมชน และที่มาของโครงการ

หลังอ้ายหมีนั้นเป็นชุมชนที่ล้อมรอบด้วยภูเขา อยู่ในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และตั้งอยู่บนเทือกเขาบรรทัด พื้นที่ชุมชนเป็นป่าต้นน้ำซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำชะอวด แม่น้ำชะอวดนี้ไหลลงไปยังทะเลจีนทางอำเภอปากพะนัง

ใน พ.ศ 2506 ได้มีคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่นี้ ในบริเวณนี้สามารถปลูกยางพาราและผลไม้หลายชนิดได้ดี หนึ่งในผู้ก่อตั้งชื่อว่า “หมี” และชาวบ้านก็ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของเขา ในปี พ.ศ.2515 รัฐบาลได้ประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และก็พยายามไล่พื้นที่ของคนในชุมชนที่อาศัยอยู่ โดยได้กล่าวหาว่าคนในชุมชนนี้ได้ใช้และทำลายทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่แห่งนี้ (เป็นรัฐบาลเดียวกันกับที่อนุญาตให้กลุ่มนายทุนเข้ามารับสัมปทานพื้นที่ป่า และขายต้นไม้ออกนอกประเทศ) นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้น ทางชาวบ้านมากกว่า 60 ครอบครัวก็ได้รวมตัวกันเพื่อต่อสู้และพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขานั้น ไม่รุกรานและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสันติสุข หลายต่อหลายครั้งทางชุมชนมีกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ ที่ทำให้ชุมชนนั้นรัก ผูกพัน และรับผิดชอบต่อธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

ในปีพ.ศ. 2545 พวกเขาได้ก่อตั้งกลุ่ม “รักป่าต้นน้ำ” มีสมาชิกทั้งสิ้น 157 ครอบครัว หรือราวๆ 463 คน ทางกลุ่มได้มีข้อตกลงร่วมกันที่จะดูแลรักษาป่า สัตว์ป่า น้ำ ต้นไม้ และจัดกิจกรรมร่วมกัน

ในปีพ.ศ. 2557 ตำรวจชายเดนได้ริเริ่มการสอนภายในโรงเรียนเพื่อที่จะให้เด็กๆ ได้รับการเรียนการสอนตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559 อาสาสมัครจากดาหลาและศูนย์จากร้อยหวันพันป่า ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนอยู่เรื่อยๆ หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ และผู้บริจาคอื่นๆ จึงมีการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหลังอ้ายหมีได้สำเร็จ

ที่มาของโครงการ

ในปีพ.ศ. 2557 ตำรวจชายเดนได้ริเริ่มการสอนภายในโรงเรียนเพื่อที่จะให้เด็กๆ ได้รับการเรียนการสอนตลอดทั้งปี โดยในปี พ.ศ. 2558-2559 อาสาสมัครจากดาหลาและศูนย์จากร้อยหวันพันป่า 2 ได้เข้าไปร่วมกิจกรรมกับเด็กที่โรงเรียนอยู่เรื่อยๆ หลังจากที่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมเด็จพระเทพฯ และผู้บริจาคอื่นๆ จึงมีการสร้างอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหลังอ้ายหมีได้สำเร็จ

หลังจากที่ศูนย์ร้อยหวันพันป่าได้ปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2559 สมาชิกของชุมชนหลังอ้ายหมีอย่างพี่คม และอาจารย์อย่างอยู่ปราการได้ติดต่อและสนใจที่จะรับอาสาสมัครมาต่อยอดโครงการในชุมชนหลังอ้ายหมีต่อไป  โดยจะเน้นกิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนระดับประถม และกิจกรรมอนุรักษ์ป่า

จุดประสงค์ของโครงการ

– เพื่อสนับสนุนและสร้างแรงขับเคลื่อนในด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม

– เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ

– เพื่อให้เด็กๆ และคนในชุมชนเกิดความคุ้นชินกับอาสาสมัครต่างชาติ รวมทั้งให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลายอีกด้วย

– เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนหลังอ้ายหมี

กิจกรรม

– กิจกรรมกับเด็กในโรงเรียนประถม (เกมส์ เพลง สอนคำศัพท์)

– กิจกรรมอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เพาะชำต้นไม้ในท้องถิ่น

– ทำฝายน้ำ (ฝายชะลอน้ำ) สำรวจป่าต้นน้ำ

– แลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม

– กิจกรรมกับชุมชน (เกี่ยวกับการปลุกผลไม้ ยางพารา และงานจักสาน)

ที่พัก และอุปกรณ์ที่จำเป็น
ที่พัก อาสาสมัครจะพักรวมกันในบ้านพักอาสาสมัครของชุมชน มีห้องน้ำภายในบ้าน
อาหาร อาสาสมัครจัดเตรียมทำอาหารกันเอง และมีคนในชุมชนมาช่วยกันทำบ้างเป็นบางมื้อ
ซักผ้า ซักผ้าด้วยมือ

สัญญาณโทรศัพท์ DTAC และ TRUE มีสัญญาณ เฉพาะในโรงเรียน