สมาคมอาสาสมัครนานาชาติเพื่อการพัฒนาสังคม (ดาหลา) เป็นสมาชิกของเครือข่าย CCIVS (Coordinating Committee for International Volunteer Service) หรือเครือข่าย / คณะกรรมการกลาง ผู้ประสานงานอาสาสมัครนานาชาติเพื่อสังคม และ NVDA The Network for Voluntary to Develop in Asia หรือ เครือข่ายอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาในเอเชีย โดยเป้าหมายอันสูงสุดของสมาคมฯ ดาหลา คือการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยโครงการต่าง ๆ ที่สร้างโอกาสการอยู่ร่วมกัน เรียนรู้ร่วมกัน และทำงานร่วมกันระหว่างอาสาสมัครนานาชาติและชุมชนในท้องถิ่น ผ่านกระบวนการการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมและพัฒนามิตรภาพให้เกิดขึ้นแก่มนุษยชาติ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ภูมิปัญญาและขนบธรรมเนียมประเพณี รวมไปถึงการส่งเสริมศักยภาพชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินโครงการจัดค่ายอาสาสมัครนานาชาติทั้งระยะสั้น และระยะยาว ร่วมกับหน่วยงานและชุมชนในท้องถิ่นเพื่อผลักดันกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ อีกทั้งการส่งเสริม และเปิดโอกาสให้แก่เยาวชนไทยได้ร่วมแลกเปลี่ยนและเข้าร่วมกิจกรรมค่ายอาสาสมัคร ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ในต่างประเทศ
พันธกิจ คือ ดาหลาเป็นตัวกลางในการประสานอาสาสมัคร เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนที่ทำงานด้านการพัฒนาสังคม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิสัยทัศน์ ของดาหลา คือ เติบโตอย่างมั่นคง และรับผิดชอบร่วมกัน
เป้าหมายหลักของเรา คือ “การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน” เพื่อการบรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว เราได้แยกย่อยเป็น 3 แนวทาง คือ
1.สนับสนุน
2.เสริมสร้างมิตรภาพ
3.สงวนและดูแลรักษา
1) สนับสนุน
การสนับสนุนหรือการร่วมผลักดันกิจกรรมกับชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ เช่น
– งานก่อสร้าง และปรับปรุงห้องเรียนหรือศูนย์เรียนรู้ในชุมชน / การทำความสะอาดแหล่งน้ำ หรือสถานที่สาธารณะต่างๆ
– การร่วมผลักดันโครงการต่างๆ ในชุมชน รวมไปถึงการมีส่วนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันทรงคุณค่า มิให้เลือนหาย
– ร่วมกับชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น
– การสนับสนุนโรงเรียนในชนบท เช่นการจัดส่งอาสาสมัครนานาชาติเข้าร่วมกิจกรรม ด้านการฝึกใช้ภาษาอังกฤษอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น
2) เสริมสร้างมิตรภาพ
การดำเนินงานค่ายอาสาสมัครนานาชาติ เป็นการนำอาสาสมัครจากทั่วโลก
มาอาศัยอยู่ร่วมกันในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
ดังนั้นในการอยู่ร่วมกันของอาสาสมัครและชุมชนในท้องถิ่น
นอกเหนือจากการสร้างสรรค์สังคมร่วมกันแล้ว
ผู้มีส่วนร่วมทุกคนยังได้เรียนรู้ถึงความหลากหลายทั้งในด้านของชาติพันธุ์และวิถีหรือวัฒนธรรมที่หลากหลาย
ก่อให้เกิดกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมิตรภาพต่อกัน
ด้วยการพยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจกัน
รวมไปถึงการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
เหล่านี้เสมือนเป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขถาวร
3) สงวน และดูแลรักษา
สภาพของสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
หลายสิ่งหลายอย่างคือสิ่งทรงคุณค่าคู่ควรแก่การเคารพและทะนุถนอมไว้ไม่ให้สูญหาย
หรือทำให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด
ด้วยสิ่งเหล่านั้นเสมือนปัจจัยหลักในการสร้างประโยชน์สุขของสังคมมวลรวม
เราจึงมีความตั้งใจและมุ่งมั่นเพื่อร่วมกันดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ วิถี
วัฒนธรรมหรือประเพณีอันดีงามเหล่านี้ไว้อยู่คู่สังคมตราบนานเท่านาน
ดาหลาเป็นตั